ใบด่าง โรคร้ายทำลายมันสำปะหลัง ยับยั้งให้ทันด้วย 3 วิธีนี้!!

พี่น้องชาวไร่มันสำปะหลังระวังให้ดี!!! #โรคใบด่างมันสำปะหลัง ภัยร้ายทำลายมันฯ อาจมาเยือน!! ถ้ามัวแชเชือนไม่สำรวจแปลงและเลือกท่อนพันธุ์ให้ดี มีหวังผลผลิตเสียหายหมดแน่‼️
วันนี้น้องปุ๋ยขยันมีวิธีป้องกัน #โรคใบด่างมันสำปะหลัง มาฝากครับ
สาเหตุ
- เกิดจากเชื้อไวรัส Sri Lankan cassava mosaic virus (SLCMV)
- การใช้ท่อนพันธุ์ที่เป็นโรค หรือท่อนพันธุ์จากแหล่งที่มีการระบาดของโรค
- แมลงหวี่ขาวยาสูบ พาหะนำเชื้อไวรัสจากต้นเป็นโรคไปสู่ต้นปกติ
อาการ
- ใบด่างเหลืองสลับเขียว หรือด่างเขียวซีดสลับเขียวเข้ม
- ใบหงิกหรือหงิกเหลือง ใบย่อยหงิกเบี้ยว เสียรูปทรง ใบอ่อนและใบที่เจริญใหม่มีขนาดเล็กลง ยอดหงิก
- ลำต้นแคระแกร็น ไม่เจริญเติบโต หัวมันเล็กลีบ
วิธีป้องกันและกำจัดโรค
- ไม่ควรนำท่อนพันธุ์จากต่างประเทศ หรือท่อนพันธุ์ที่มีโรคใบด่างมาปลูก ควรใช้ท่อนพันธุ์มันสำปะหลังจากแหล่งพันธุ์ที่มีการรับรอง
- ยกตัวอย่างพันธุ์ที่ต้านทานต่อโรคใบด่าง เช่น ระยอง 72, KU 50 หรือ ห้วยบง 60
- ป้องกันและกำจัดแมลงหวี่ขาวยาสูบโดยพ่นสารเคมีทุก ๆ 7 วัน จนกว่าจำนวนแมลงจะลดลดน้อยกว่า 1 ตัวต่อใบ เช่น
- ฟิโพรนิล 5% SC อัตรา 20 - 25 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ
- อิมิดาโคลพริด 70% WG อัตรา 6 - 12 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร
- หากพบต้นมันฯ ที่เพิ่งเกิดโรคให้รีบทำการถอนทิ้ง และเผาทำลายเพื่อลดการแพร่ระบาดของโรค
ขอบคุณข้อมูลจาก : กรมวิชาการเกษตร, เทคโนโลยีการเกษตร
ติดตามราคาพืชผลก่อนใครทาง LINE คลิกเลย! https://lin.ee/rNYeQyq
#ปุ๋ยตรามงกุฎ #ปุ๋ยขยันทำงานทุกเม็ด #นิยมทั่วไทย