ฝนมาเชื้อราเกิด มาหยุดยั้งกันเถิด!! ก่อน ลำไย จะเกิดปัญหา!

พี่น้องชาวสวนลำไยระวัง‼️ ช่วงนี้ฝนเริ่มตกชุก ระวังเชื้อราบุกผลลำไยกันนะค้าบ เพราะ ฝนมาราเกิด ผลแตกเน่า ขั้วไม่เหนียวผลหลุดร่วง ทำเอาช้ำทรวง ราคาตกต่ำ ผลผลิตเสียหาย... แต่ปัญหาเหล่านี้แก้ได้! แค่พี่น้องฉีดยาป้องกันเชื้อราในช่วงฝนเริ่มตกกันนะครับ
รู้ไว้จะได้ป้องกัน! เชื้อราและอาการที่เกิดขึ้นในลำไย
- เชื้อราไฟทอปธอร่า เปลือกมีแผลไหม้สีน้ำตาล พบเส้นใยสีขาวขึ้นฟูคลุมผล ต่อมาผลจะเน่า แตก และหลุดร่วงในที่สุด
- เชื้อราดำ ผลมีคราบสีดำคล้ายเขม่า ทำให้ผิวลำไยไม่สวย ไม่เนียน ผิวลำไยดูสกปรก
จัดไป! วิธีป้องกันกำจัดเชื้อราในลำไย
- พ่นสารกำจัดเชื้อรา แมนโคเซบ + สารวาลิฟีนา
- อัตราใช้ 30-50 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร
- พ่นสารกำจัดเชื้อรา เมทาแลกซิล–เอ็ม + แมนโคเซบ 68% ดับเบิลยูจี
- อัตราใช้ 30-50 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร
- พ่นสารกำจัดเชื้อรา เมทาแลกซิล 25% ดับเบิลยูพี
- อัตราใช้ 50-60 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร
- พ่นสารกำจัดเชื้อรา ฟอสอีทิล–อะลูมิเนียม 80% ดับเบิลยูพี
- อัตราใช้ 80 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร
- พ่นสารกำจัดเชื้อรา อะซอกซีสโตรบิน + ไดฟีโนโคนาโซล
- อัตราใช้ 10-20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร
ควรพ่นให้ทั่วต้นทุก 5-7 วัน และหยุดพ่นก่อนเก็บเกี่ยวอย่างน้อย 15 วัน
ปุ๋ยตรามงกุฎ ปุ๋ยขยันทำงานทุกเม็ด นิยมทั่วไทย