น้องปุ๋ยขยันขอแชร์! เทคนิคพิชิตโรคข้าวให้ตรงจุด หยุดได้ทุกเชื้อ!
‘โรคข้าว’ คือความผิดปกติที่ข้าวแสดงออกมา อาจเกิดจากสิ่งที่มีชีวิต หรือไม่มีชีวิต ในกรณีที่โรคนั้นเกิดจากสิ่งมีชีวิต จะเรียกว่า ‘เชื้อโรค’ ครับ โดยเชื้อสาเหตุที่ทำให้เกิดโรค อาจเป็น เชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย ไวรัส ไฟโตพลาสมา ไส้เดือนฝอย หรือจุลินทรีย์ก็ได้ครับ
เห็นเชื้อหลายประเภทแบบนี้แล้ว มาดูอาการของโรค การจำแนกเชื้อ และวิธีป้องกัน กันดีกว่า ถ้าพร้อมแล้ว.. ตามมาเลยคร้าบบบ
◾ กลุ่มอาการของโรคข้าว
มักจะแสดงอาการผิดปกติชัดเจนที่ใบ ลำต้น กาบใบ รวง หรือเมล็ด ซึ่งสามารถแบ่งได้ 5 กลุ่มอาการ ตามนี้เล้ยย
1. ต้นเตี้ย แคระแกร็น
2. สีใบผิดปกติ เช่น เหลือง ด่าง ซีด
3. ใบข้าวตายเป็นจุด ๆ เช่น ใบจุด ใบขีด หรือใบแห้ง
4. ข้าวเหี่ยวแห้ง เนื่องจากท่อน้ำ หรือท่ออาหารอุดตัน
5. ราก ใบ รวง หรือเมล็ดข้าวผิดปกติ เช่น โรคดอกกระถิน โรครากปม ฯลฯ
เมื่อต้นข้าวอ่อนแอ หรือมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเกิดโรค ข้าวจะแสดงอาการผิดปกติเหล่านี้ออกมาครับ
รู้อาการแบบนี้แล้ว ไปดูการจำแนกสาเหตุของโรค พร้อมวิธีป้องกันกันต่อเลยคร้าบบบ
◾ พิชิตโรคข้าวจากเชื้อรา ให้ตรงจุด แค่ทำตามนี้!!!
• โรคกล้าเน่าในกระบะเพาะ
สาเหตุ : เชื้อรา Curvularia lunata (Wakk.) Board. Helminthosporium oryzae Breda de haan
วิธีป้องกัน : ไม่ควรใช้เมล็ดพันธุ์จากแปลงที่เคยมีโรคเมล็ดด่างระบาดมาก่อน
• โรคกาบใบแห้ง
สาเหตุ : เชื้อรา Rhizoctonia solani (Thanatephorus cucumeris (Frank) Donk)
วิธีป้องกัน : ใช้สารป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น วาลิดามัยซิน โพรพิโคนาโซล เพนไซคูรอ (25%ดับบลิวพี)
• โรคถอดฝักดาบ
สาเหตุ : เชื้อรา Fusarium fujikuroi Nirenberg (Fusarium moniliforme J. Sheld.)
วิธีป้องกัน : หลีกเลี่ยงการใช้เมล็ดพันธุ์จากแปลงที่เคยเกิดโรคระบาด
◾ พิชิตโรคข้าวจากเชื้อรา ให้ตรงจุด แค่ทำตามนี้!!!
• โรคใบจุดสีน้ำตาล
สาเหตุ : เชื้อรา Helminthosporium oryzae Breda de Haan. (Bipolaris oryzae (Brada de Haan) Shoemaker)
วิธีป้องกัน : ควรพ่นด้วยสารกำจัดเชื้อรา เช่น อดิเฟนฟอส คาร์เบนดาซิม แมนโคเซ็บ หรือ คาร์เบนดาซิม + แมนโคเซ็บ ตามอัตราที่กำหนด
• โรคเมล็ดด่าง
สาเหตุ : เชื้อรา 6 ชนิด
- Curvularia lunata (Wakk) Boed.
- Cercospora oryzae I.Miyake
- Helminthosporium oryzae Breda de Haan.
- Fusarium semitectum Berk & Rav.
- Trichoconis padwickii Ganguly
- Sarocladium oryzae
วิธีป้องกัน : คลุกเมล็ดพันธ์ด้วยสารป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น คาร์เบนดาซิม หรือ แมนโคเซ็บ ในอัตรา 3 ก./เมล็ดพันธุ์ 1 กก.
• โรคไหม้
สาเหตุ : เชื้อรา Pyricularia grisea Sacc.
วิธีป้องกัน : คลุกเมล็ดพันธุ์ด้วยสารป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น คาซูกะมัยซิน ไตรไซคลาโซล คาร์เบนดาซิม โปรคลอลาส ตามอัตราที่กำหนด
◾ พิชิตโรคข้าวจากเชื้อแบคทีเรีย ให้ตรงจุด แค่ทำตามนี้!!!
• โรคขอบใบแห้ง
สาเหตุ : เชื้อแบคทีเรีย Xanthomonas oryzae pv. oryzae (ex Ishiyama) Swings et al.
วิธีป้องกัน : ใช้พันธุ์ข้าวที่ต้านทานโรค เช่น ในภาคกลางใช้พันธุ์ สุพรรณบุรี 60 สุพรรณบุรี 90 สุพรรณบุรี 1 สุพรรณบุรี 2 และ กข23
• โรคใบขีดโปร่งแสง
สาเหตุ : เชื้อแบคทีเรีย Xanthomonas oryzae pv. oryzicola (Fang et al.) Swings et al.
วิธีป้องกัน : ไม่ปลูกข้าวแน่นเกินไป และไม่ควรให้ระดับน้ำในนาสูงเกินควร
◾ พิชิตโรคข้าวจากเชื้อไวรัส ให้ตรงจุด แค่ทำตามนี้!!!
• โรคใบสีส้ม
สาเหตุ : เชื้อไวรัส Rice Tungro Bacilliform Virus (RTBV) และ Rice Tungro Spherical Virus (RTSV)
วิธีป้องกัน : กำจัดวัชพืช พืชอาศัยของเชื้อไวรัส และแมลงพาหะนำโรค
• โรคใบหงิก (โรคจู๋)
สาเหตุ : เชื้อไวรัส Rice Ragged Stunt Virus (RRSV)
วิธีป้องกัน : กำจัดวัชพืช พืชอาศัยของเชื้อไวรัส และแมลงพาหะนำโรค
ขอบคุณข้อมูลจาก : สำนักวิจัยและพัฒนาข้าว กรมการข้าว
สอบถามราคาสถานที่จัดจำหน่าย และ ติดตามราคาพืชผลก่อนใครทาง LINE คลิกเลย! https://lin.ee/rNYeQyq
ติดตามคลิปความรู้สนุก ๆ จากน้องปุ๋ยขยันใน TikTok ได้ที่ https://www.tiktok.com/@mongkutfertilizer
#ปุ๋ยตรามงกุฎ #ปุ๋ยขยันทำงานทุกเม็ด #ปุ๋ยขยันทำงานตรงจุด #เริ่มต้นให้ตรงจุด #ปุ๋ยขยันสร้างผลผลิตไปได้สุด #ปุ๋ยขยันเต็มแรง #นิยมทั่วไทย #เกษตรกรรุ่นใหม่
#วิธีจำแนกโรคข้าว #โรคข้าว #ดูแลนาข้าว #นาข้าว #นาปี #นาปรัง #โรคกล้าเน่าในกระบะเพาะ #โรคกาบใบแห้ง #โรคถอดฝักดาบ #โรคใบจุดสีน้ำตาล #โรคเมล็ดด่าง #โรคไหม้ #โรคขอบใบแห้ง #โรคใบขีดโปร่งแสง #โรคใบสีส้ม #โรคใบหงิก #โรคใบจู๋