น้องปุ๋ยขยันขอแชร์! จัดการเศษซากใบอ้อยหลังเก็บเกี่ยวยังไง? ให้ดีต่อใจ ดีต่อไร่ ไม่ต้องเผา!

น้องปุ๋ยขยันขอแชร์! จัดการเศษซากใบอ้อยหลังเก็บเกี่ยวยังไง? ให้ดีต่อใจ ดีต่อไร่ ไม่ต้องเผา!


ในช่วงปลายปีถึงต้นปี เป็นฤดูเก็บเกี่ยวอ้อย พี่น้องเกษตรกรหลายคนจึงเลือกที่จะ ‘เผาเศษซากใบอ้อย’ หลังเก็บเกี่ยว เพื่อความสะดวก รวดเร็ว แต่รู้ไหมครับว่า การเผานั้นก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศ อย่างฝุ่น PM 2.5 เสี่ยงต่อการเกิดไฟลามไปยังพื้นที่ใกล้เคียง และยังทำให้ดินเสื่อมคุณภาพ จากการขาดธาตุอาหารอีกด้วยครับ 

 

วันนี้น้องปุ๋ยขยันเลยอยากมาแชร์วิธีจัดการเศษซากใบอ้อยที่เหมาะสม และมีประโยชน์ให้พี่ ๆ ได้นำไปใช้กัน ตามมาเลยคร้าบ

 

◾ จัดการเศษซากใบอ้อยถูกวิธี ข้อดีเพียบ!!

ซึ่งวิธีที่น้องปุ๋ยขยันอยากแนะนำก็คือ ‘การไถกลบ หลังเก็บเกี่ยว’ นั่นเองครับ เพราะวิธีนี้ พี่ ๆ จะได้ใช้ประโยชน์จากเศษซากใบอ้อย ในการเตรียมดินให้พร้อมก่อนเริ่มปลูกใหม่ นอกจากนี้ ยังมีข้อดีอีกมากมาย มาดูกันเลยคร้าบ

 

✔ เพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุ และธาตุอาหารให้แก่ดิน

จากการวิเคราะห์ปริมาณธาตุอาหารในเศษซากใบอ้อย พบว่า มีธาตุไนโตรเจน (N) ประมาณ 0.49% ธาตุฟอสฟอรัส (P) ประมาณ 2.10% และธาตุโพแทสเซียม (K) ประมาณ 5.80% ซึ่งช่วยให้ประหยัดปริมาณปุ๋ยเคมีได้ในระดับหนึ่ง

✔ ทำให้ดินร่วนซุย ถ่ายเทอากาศ และระบายน้ำได้ดี

✔ เป็นแหล่งอาหารของจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ในดิน

✔ ประหยัดค่าใช้จ่าย และเวลาในการบำรุงดิน ช่วยให้ทำงานสะดวกมากขึ้น 
เพราะเศษซากใบอ้อย ถือเป็นวัสดุปรับปรุงดินชนิดหนึ่ง ที่ไม่ต้องหาซื้อเพิ่ม และไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการขนย้ายนั่นเอง

✔ สร้างรายได้เสริม โดยนำไปขายให้กับโรงไฟฟ้าชีวมวลที่ใช้ใบอ้อยเป็นเชื้อเพลิง

 

◾ รู้ประโยชน์แบบนี้แล้ว มาดูวิธีจัดการเศษซากใบอ้อย หลังเก็บเกี่ยว ด้วยการ ‘ไถกลบ’ แทนการเผา กันดีกว่า รับรองว่าดีต่อใจ ดีต่อการปลูกอ้อยใหม่ แน่นอนคร้าบ

 

1. ตัดอ้อยสด (ไม่เผาก่อนตัด) โดยไถรื้อตออ้อยเก่าด้วยเครื่องไถรื้อตอสับใบ หรือเครื่องพรวนชนิด 20-22 จาน เพื่อให้เศษซากใบอ้อยถูกกลบลงไปในดิน

2. พักดินประมาณ 1-2 เดือน เพื่อให้จุลินทรีย์ย่อยเศษซากใบอ้อยจนหมด เพราะถ้าปลูกทันที อาจส่งผลให้ต้นอ้อยมีอาการขาดธาตุไนโตรเจน เนื่องจากไนโตรเจนถูกดึงไปใช้ในกระบวนการย่อยสลายเศษซากใบอ้อย ทำให้ปริมาณไนโตรเจนในดินมีน้อยลง

3. หลังเศษซากใบอ้อยถูกย่อยสลายหมดแล้ว ให้ไถเตรียมดิน เพื่อปลูกอ้อยใหม่

4. ควรทำเช่นนี้ทุกครั้ง เมื่อมีการไถรื้อตอ หรือไถพรวนคลุกเศษซากใบอ้อยทุก ๆ 3-4 ปี

 

◾ อ้อยปลูกใหม่ ต้องบำรุงให้สุด! ด้วย ปุ๋ยตรามงกุฎ สูตรนี้!!

✔ ต้นโตไว แตกกอดี 

 

อ้อยระยะรองพื้น และ ระยะบำรุงตอ

✔ ใส่สูตร 18-8-8 หรือสูตร 15-15-15 ทับทิม
อัตราใส่ 50 กก./ไร่

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย, องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองการุ้ง, MRG ONLINE และ SV GROUP Thailand

 

สอบถามราคาสถานที่จัดจำหน่าย และ ติดตามราคาพืชผลก่อนใครทาง LINE คลิกเลย! https://lin.ee/rNYeQyq  

ติดตามคลิปความรู้สนุก ๆ จากน้องปุ๋ยขยันใน TikTok ได้ที่ https://www.tiktok.com/@mongkutfertilizer

 

#ปุ๋ยตรามงกุฎ #ปุ๋ยขยันทำงานทุกเม็ด #ปุ๋ยขยันทำงานตรงจุด #เริ่มต้นให้ตรงจุด #ปุ๋ยขยันสร้างผลผลิตไปได้สุด #ปุ๋ยขยันเต็มแรง #นิยมทั่วไทย #เกษตรกรรุ่นใหม่ #อ้อย #ไร่อ้อย #ตัดอ้อยสด #ใบอ้อย #กาบใบอ้อย #ยอดอ้อย #เศษซากใบอ้อย #ประโยชน์จากเศษซากใบอ้อย #บำรุงดิน #ปรับปรุงดิน #บำรุงดินด้วยเศษซากใบอ้อย #อ้อยหลังเก็บเกี่ยว #อ้อยปลูกใหม่ #อ้อยตอ #จัดการเศษซากพืช #หยุดเผาอ้อย