เล็กแต่ร้าย! มอดดิน แมลงตัวจี๊ดประจำไร่ข้าวโพด!
‘มอดดิน’ เป็นแมลงที่พบบ่อยในไร่ข้าวโพด สามารถเข้าทำลายได้ตั้งแต่ระยะต้นกล้า ซึ่งจะทำให้ผลผลิตเสียหายในระยะยาวนั่นเอง
วันนี้น้องปุ๋ยขยันเลยอยากพาทุกคนไปรู้จักกับเจ้าแมลงตัวนี้ พร้อมบอกวิธีป้องกันและกำจัด เพื่อดูแลข้าวโพดของเราไม่ให้เสียหาย รีบไปดูกันเล้ยยย
◾ รูปร่างลักษณะ
มอดดิน เป็นด้วงงวงขนาดเล็ก ปีกแข็ง ลำตัวป้อม ผิวขรุขระ มีสีดำปนน้ำตาลและเทา
- ขนาดลำตัวกว้างประมาณ 2.2 มม. และยาว 3.5 มม.
◾ วงจรชีวิตของมอดดิน
◾ ระยะวางไข่ และฟักตัว (ประมาณ 5-7 วัน)
- ตัวเมียจะวางไข่เป็นฟองเดี่ยวในดิน บริเวณที่มีต้นพืช โดยไข่มีลักษณะกลมรี สีขาว ผิวเรียบเป็นมัน ขนาดกว้างเฉลี่ย 0.30 มม. ยาว 0.50 มม.
◾ ระยะตัวหนอน (ประมาณ 45 วัน)
- ตัวหนอนงอคล้ายรูปตัว C หลังฟักตัวจะสีขาวใส มีขนเล็ก ๆ รอบตัว และหัวกะโหลกจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้มขึ้นเรื่อย ๆ ตามอายุ
- เมื่อหนอนโตเต็มที่ จะยาวประมาณ 6.5 มม. และหัวกะโหลกกว้าง 0.75 มม.
◾ ระยะดักแด้ (ประมาณ 5 วัน)
- มีรูปร่างแบบ Exarate Pupa กล่าวคือ ขา และปีกเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระ ไม่ติดกับลำตัว
- ขนาดกว้างเฉลี่ย 2 มม. ยาว 3.9 มม.
◾ ระยะโตเต็มวัย (ประมาณ 8 เดือน)
- กลางวัน : พบทั่วไปในแปลง หรือใต้ดินบริเวณโคนต้น โดยเฉพาะกองดินของข้าวโพดระยะต้นกล้า
- กลางคืน : ออกหาอาหาร และจับคู่ผสมพันธุ์
◾ ลักษณะการเข้าทำลาย
ต้นกล้าที่ถูกกัดจะชะงักการเติบโต ทำให้ข้าวโพดแก่ไม่พร้อมกัน ฝักลีบเล็ก หรือไม่ติดฝัก
◾ วิธีป้องกัน และกำจัด
ใช้สารเคมีคลุกเมล็ดพันธุ์ก่อนปลูก เช่น
✔ คาร์โบซัลแฟน (carbosulfan) 25% ST ในอัตรา 20 ก./เมล็ดพันธุ์ 1 กก.
✔ อิมิดาโคลพริด (imidacloprid) 70% WS ในอัตรา 5 ก./เมล็ดพันธุ์ 1 กก.
หากพบการระบาดในพื้นที่แห้งแล้ง หรือในช่วงข้าวโพดงอกแล้ว
✔ ควรฉีด carbosulfan 20% EC ในอัตรา 30 มล. / น้ำ 20 ล.
ขอบคุณข้อมูลจาก : ศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์ และสยามคูโบต้า
สอบถามราคาสถานที่จัดจำหน่าย และ ติดตามราคาพืชผลก่อนใครทาง LINE คลิกเลย! https://lin.ee/rNYeQyq
ติดตามคลิปความรู้สนุก ๆ จากน้องปุ๋ยขยันใน TikTok ได้ที่ https://www.tiktok.com/@mongkutfertilizer
#ปุ๋ยตรามงกุฎ #ปุ๋ยขยันทำงานทุกเม็ด #ปุ๋ยขยันทำงานตรงจุด #นิยมทั่วไทย #เริ่มต้นให้ตรงจุด #ปุ๋ยขยันสร้างผลผลิตไปได้สุด #ปุ๋ยขยันเต็มแรง #นิยมทั่วไทย #เกษตรกรรุ่นใหม่ #มอดดิน #ศัตรูพืช #ข้าวโพด #ไร่ข้าวโพด