แล้งนี้.. พี่น้องชาวสวนยางต้องรอด!!
ฤดูที่ยางผลัดใบมักตรงกับช่วงที่เกิดพายุฤดูร้อน หรือไฟป่า ซึ่งสาเหตุหลักมาจากอากาศที่ร้อนจัด แห้งแล้ง และมีอุณหภูมิสูง หากพี่น้องขาดการดูแลเอาใจใส่ ต้นยางของเราอาจชะงักการเจริญเติบโต จนทำให้เปลือกยางแข็ง น้ำยางน้อยลง และเสี่ยงต่อการเป็นโรคเปลือกแห้งได้ง่าย ทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลมากขึ้นนั่นเองครับ
วันนี้น้องปุ๋ยขยันเลยมีเทคนิคดี ๆ ในการดูแล และป้องกันสวนยางในช่วงแล้งมาฝากครับ รับรองว่า สวนยางรอดปลอดภัย ไว้ใจน้องปุ๋ยขยันได้เล้ย!
◾ วิธีป้องกัน และดูแลสวนยางในช่วงหน้าแล้ง
1. ควรหยุดกรีด ในช่วงยางผลัดใบ (ก.พ. - พ.ค.)
เพราะยางต้องการนำธาตุอาหารไปบำรุงส่วนต่าง ๆ ที่จำเป็น
2. ทำแนวกันไฟ เพื่อป้องกันไฟลุกลามจากที่ข้างเคียง
โดยไถ หรือขุด ถากวัชพืช และเศษซากพืชบริเวณรอบสวนยาง ให้มีความกว้างไม่ต่ำกว่า 3 ม.
3. กำจัดวัชพืช
เพราะเป็นเชื้อไฟอย่างดี หากเกิดไฟไหม้ในสวน
ข้อแนะนำ : ไม่ควรฉีดพ่นสารเคมี
4. ทาปูนขาว หรือสีน้ำ (สีขาว) เพื่อป้องกันรอยไหม้จากแสงแดด
โดยทาบริเวณโคนต้นยาง ส่วนที่เป็นสีน้ำตาล ถึงสีน้ำตาลปนเขียว
ข้อแนะนำ : ควรทาก่อนเข้าฤดูแล้ง
5. ตัดแต่งกิ่ง เพื่อลดการคายน้ำ และช่วยให้ลมผ่านได้ดี ☁️
ข้อแนะนำ : ควรใช้ปูนขาว ปูนแดง หรือสี ทาบริเวณที่ถูกตัดแต่ง
6. งดใส่ปุ๋ย เพราะปุ๋ยละลายได้ไม่ดีในดินที่มีความชื้นต่ำ
◾ เทคนิคดูแลสวนยาง หลังโดนไฟไหม้ (ไม่รุนแรง)
อาการ : ต้นโทรม ชะงักการเจริญเติบโต น้ำยางน้อย เปลือกแข็งกว่าปกติ และมักจะเป็นโรคเปลือกแห้ง
✔ วิธีช่วยลดการคายน้ำของต้น และป้องกันเชื้อโรคและแมลง
• ผสมปูนขาวกับน้ำ ในอัตราส่วน 1:1 ทิ้งไว้ 24 ชม.
• ทาลงบนลำต้นเฉพาะส่วนสีน้ำตาล (บริเวณที่เปิดกรีด)
✔ วิธีบำรุงต้น หลังถูกไฟไหม้
• ให้น้ำ และใส่ปุ๋ยอินทรีย์ อัตรา 100 กก./ไร่
• ใส่ปุ๋ยเคมี 1 กก./ต้น/ปี โดยแบ่งใส่ 2 ครั้ง ครั้งละ 0.5 กก.ในช่วงต้น และปลายฤดูฝน ต่อเนื่องกันทุกปี
ข้อแนะนำ : ควรหยุดกรีดยาง 1 ปี เพื่อให้ต้นฟื้นตัว
✔ กรณีต้นยางพาราตาย
ข้อแนะนำ : ควรโค่นต้นทิ้ง
◾ เทคนิคคลุมโคนต้นยางพารา เพื่อรักษาความชื้นในดิน
✔ สำหรับยางเล็ก อายุ 1-3 ปี
วิธีทำ :
• ใช้ซากวัชพืช หญ้าคา หรือฟางข้าว คลุมรอบโคนต้น รัศมี 1 ม. และสูง 10 ซม. โดยเว้นระยะห่างจากโคนต้น 5-10 ซม.
• ปลูกกล้วยแซมระหว่างแถวต้นยาง เพื่อช่วยบังแสงแดด
◾ เทคนิคบำรุงยางพาราให้สุด ด้วย ปุ๋ยตรามงกุฎ
บำรุงยางพาราก่อนเปิดกรีด ปีที่ 1
ครั้งที่ 1 ช่วงต้นฝน
✔ แนะนำสูตร 18-8-8 อัตราใส่ 25-30 กก./ไร่
ครั้งที่ 2 ช่วงปลายฝน
✔ แนะนำสูตร 18-8-8 อัตราใส่ 15-20 กก./ไร่
บำรุงยางพาราก่อนเปิดกรีด ปีที่ 2 - 7
ปีที่ 2-5
ช่วงต้นฝน
✔ แนะนำสูตร 15-7-18 อัตราใส่ 30 กก./ไร่
ช่วงปลายฝน
✔ แนะนำสูตร 18-8-8 อัตราใส่ 15-20 กก./ไร่
ปีที่ 5-7
ช่วงต้นฝน
✔ แนะนำสูตร 15-7-18 อัตราใส่ 50 กก./ไร่
ช่วงปลายฝน
✔ แนะนำสูตร 18-8-8 อัตราใส่ 25-30 กก./ไร่
บำรุงยางพาราเปิดกรีดแล้ว
✔ แนะนำใส่ปีละ 2 ครั้ง ช่วงต้นฝนและปลายฝน
✔ แนะนำสูตร 20-8-20 อัตราใส่ 55-60 กก./ไร่/ครั้ง
หรือสูตร 15-7-18 อัตราใส่ 75-80 กก./ไร่/ครั้ง
หมายเหตุ : ใส่สูตรใดสูตรหนึ่ง หรือใส่สลับในช่วงต้นฝนและปลายฝน
ขอบคุณข้อมูลจาก : กรมส่งเสริมการเกษตร
สอบถามราคาสถานที่จัดจำหน่าย และ ติดตามราคาพืชผลก่อนใครทาง LINE คลิกเลย! https://lin.ee/rNYeQyq
ติดตามคลิปความรู้สนุก ๆ จากน้องปุ๋ยขยันใน TikTok ได้ที่ https://www.tiktok.com/@mongkutfertilizer
#ปุ๋ยตรามงกุฎ #ปุ๋ยขยันทำงานทุกเม็ด #ปุ๋ยขยันทำงานตรงจุด #เริ่มต้นให้ตรงจุด #ปุ๋ยขยันสร้างผลผลิตไปได้สุด #ปุ๋ยขยันเต็มแรง #นิยมทั่วไทย #เกษตรกรรุ่นใหม่ #ดูแลสวนยางช่วงหน้าแล้ง #ยางพารา #สวนยางพารา