น้องปุ๋ยขยันชวนพี่น้องชาวไร่อ้อยมารู้จักกับ “โรคใบขาว” และหมั่นสังเกตต้นอ้อยของตนเอง เพื่อให้สามารถรับมือได้อย่างถูกวิธีนั่นเองครับ พร้อมแล้วไปรู้จักโรคนี้กันเลยยย
◾ อาการของโรค
ลักษณะของใบจะเปลี่ยนเป็นสีเขียวอ่อนหรือสีขาวซีด แคบเรียวเล็กกว่าปกติ บางครั้งจะเป็นแถบขาวขนานไปตามความยาวของใบ มีขนาดต่าง ๆ กัน ต่อมาจึงจะขยายจนเต็มใบ หากพบอาการรุนแรงอ้อยจะแห้งตายในที่สุด ส่งผลให้ผลผลิตลดลงมากกว่า 50% เลยล่ะครับ
◾ สาเหตุของโรค
เกิดจากเชื้อไฟโตพลาสมา ซึ่งเป็นเชื้อที่เจริญเติบโตอยู่ในต้นอ้อย หรือในแมลงพาหะเท่านั้น โดยเชื้อจะอยู่ภายในท่ออาหารของอ้อย ทำให้ไม่ว่าต้นอ้อยจะเจริญเติบโตไปขนาดไหน เชื้อตัวนี้ก็สามารถเพิ่มปริมาณไปได้เท่านั้นครับ
◾ แมลงพาหะ
แมลงพาหะที่สามารถถ่ายทอดเชื้อไฟโตพลาสมาไปติดยังอ้อยได้ มักจะดูดกินน้ำเลี้ยงอ้อยเป็นหลัก มีด้วยกัน 2 ชนิด ได้แก่
• เพลี้ยจักจั่นลายจุดสีน้ำตาล
• เพลี้ยจักจั่นหลังขาว
◾ การป้องกันกำจัดโรค
✔ หมั่นตรวจแปลง ขุดและทำลายต้นที่เป็นโรค
✔ ไม่ใช้ท่อนพันธุ์จากแหล่งที่มีโรคระบาด
✔ จัดทำแปลงพันธุ์ของตนเอง
✔ ปลูกอ้อยข้ามแล้งเพื่อลดการเกิดโรค
✔ บำรุงอ้อยให้เจริญเติบโตอย่างดี
✔ ปรับปรุงดินโดยการไถกลบใบอ้อย
✔ ปลูกพืชปุ๋ยสดก่อนปลูกอ้อยใหม่
◾ เคล็ดลับการบำรุงอ้อยให้ตรงจุด ด้วยปุ๋ยตรามงกุฎ แบบนี้เลย!!
✔ อ้อยระยะรองพื้น และ ระยะบำรุงตอ
สูตร 18-8-8 หรือ สูตร 15-15-15 ทับทิม อัตราใส่ 50 กก./ไร่
✔ อ้อยระยะย่างปล้อง
แบบใส่เดี่ยว : สูตร 40-0-0 หรือ สูตร 15-7-18 หรือ สูตร 20-8-20 อัตราใส่ 50 กก./ไร่
แบบใส่ผสม : สูตร 40-0-0 ร่วมกับ 15-15-15 ทับทิม สัดส่วน 1:1 อัตราใส่ 50 กก./ไร่
ขอบคุณข้อมูลจาก : สำนักงานเกษตรจังหวัดสกลนคร
สอบถามราคาสถานที่จัดจำหน่าย และ ติดตามราคาพืชผลก่อนใครทาง LINE คลิกเลย! https://lin.ee/rNYeQyq
ติดตามคลิปความรู้สนุก ๆ จากน้องปุ๋ยขยันใน TikTok ได้ที่ https://www.tiktok.com/@mongkutfertilizer
#ปุ๋ยตรามงกุฎ #ปุ๋ยขยันทำงานทุกเม็ด #ปุ๋ยขยันทำงานตรงจุด #เริ่มต้นให้ตรงจุด #ปุ๋ยขยันสร้างผลผลิตไปได้สุด #ปุ๋ยขยันเต็มแรง #นิยมทั่วไทย #เกษตรกรรุ่นใหม่ #อ้อย #ใบอ้อย #ปลูกอ้อย #บำรุงอ้อย #ไร่อ้อย #เกษตรกรอ้อย #โรคอ้อย #โรคพืช #แมลง #ศัตรูพืช #ศัตรูอ้อย