น้องปุ๋ยขยันเตือนภัย! 4 โรคพืชตัวร้ายทำลายพืชตระกูลแตง
พืชตระกูลแตง เป็นอีกหนึ่งชนิดพืชทางการเกษตรและเศรษฐกิจ เราสามารถพบเห็นได้ทั่วไป เพราะนอกจากจะปลูกง่ายแล้ว ยังบริโภคง่ายอีกด้วยครับ นิยมนำมารับประทานสด ปรุงอาหาร และทำยารักษาโรค ตัวอย่างพืชตระกูลแตงที่พบเห็นในบ้านเรา ได้แก่ แตงกวา แตงไทย แตงโม รวมถึง มะระจีน ฟักทอง เมลอน บวบเหลี่ยม และน้ำเต้า ก็ถือเป็นพืชตระกูลแตงเช่นกันคร้าบ
วันนี้น้องปุ๋ยขยันจึงอยากมาเตือนภัยพี่น้องเกษตรกรถึง 4 โรคพืชตัวร้ายในพืชตระกูลแตง พร้อมอาการของโรคและวิธีป้องกันกำจัดโรคนี้ เพื่อให้พืชของพี่น้องเกษตรกรได้เติบโตอย่างมีคุณภาพนั่นเองครับ
พร้อมแล้วก็รีบไปดูกันเลยยยย
◾ โรคราแป้งขาวแตงกวา (Powdery mildew)
• เกิดจากเชื้อรา Oidium sp.
✔ อาการของโรค
• เกิดเชื้อราลักษณะคล้ายผงหรือฝุ่นแป้งสีขาวขึ้นปกคลุมบนผิวใบ ส่วนมากเริ่มเกิดที่ใบส่วนล่างก่อน
• ใบจะค่อย ๆ ซีดเหลืองและแห้งตายได้ในเวลาต่อมา โดยเฉพาะส่วนที่ยังอ่อนอยู่
• ผลอ่อนจะแกร็น บิดเบี้ยว ผิวขรุขระ และเสียรูปทรง มักพบการระบาดในสภาพที่มีอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศต่ำ โดยอาการจะเกิดขึ้นน้อยกว่าบนต้นและใบ
✔ การป้องกันและกำจัดโรค
• กำจัดวัชพืชในบริเวณแปลงปลูกไม่ให้รกทึบ และเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของเชื้อโรค
• พ่นด้วยสารป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น ไตรอาไดมีฟอน (triadimefon), ไมโคลบิวทานิล (myclobutanil), โพรพิโคนาโซล (propiconazole) หรือ อะซ็อกซีสโตรบิน (azoxystrobin) เป็นต้น
• เลือกปลูกพันธุ์ที่มีความต้านทาน
◾️ โรคราน้ำค้างแตงโม (Downy mildew)
• เกิดจากเชื้อรา Pseudoperonospora cubensis
✔ อาการของโรค
• ระยะเริ่มแรกบนใบจะพบแผลฉ่ำน้ำ ต่อมาแผลจะขยายอยู่ในกรอบของเส้นใบ ทำให้รูปร่างแผลเป็นจุดเหลี่ยม ต่อมาแผลจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง
• ตอนเช้าที่สภาพอากาศมีความชื้นสูงจะพบเส้นใยของเชื้อราเจริญอยู่ลักษณะเป็นขุยสีขาวถึงเทาตรงแผลบริเวณด้านใต้ใบ แผลจะขยายติดต่อกันเป็นแผลขนาดใหญ่ เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้มหรือเทาดำ หากอาการรุนแรงจะทำให้ใบเหลืองและแห้งตายทั้งต้นได้
• พืชที่เป็นโรคจะติดผลน้อย ผลมีขนาดเล็ก คุณภาพของผลจะลดลง
✔ การป้องกันและกำจัดโรค
• เลือกพันธุ์พืชที่สามารถต้านทานโรคราน้ำค้างได้
• วางระยะปลูกพืชให้เหมาะสม เพื่อเป็นการลดความชื้นที่จะเกิดขึ้น
• ตัดแต่งส่วนที่มีอาการของโรคราน้ำค้างออกจากแปลงไปทำลายทิ้ง
• พ่นด้วยสารป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น เมทาแลกซิล (metaxly), แมนโคเซบ (mancozeb), ไซมอกซานิล (cymoxanil) + แมนโคเซบ (mancozeb) เป็นต้น
◾️ โรคใบด่างแตงกวา (Cucumber mosaic disease)
• เกิดจากเชื้อไวรัส Cucumber mosaic virus (CMV)
✔ อาการของโรค
• อาการจะเริ่มแสดงที่ใบอ่อน เส้นใบมีสีใส ใบหงิก ผิวเป็นคลื่น ขอบใบม้วนลง มีจุดสีเขียวอ่อนหรือสีเหลืองกระจายทั่วใบ จากนั้นเปลี่ยนเป็นอาการใบด่างเป็นหย่อม มีสีเขียวอ่อนหรือสีเหลืองสลับสีเขียวเข้ม ใบเริ่มบิดเบี้ยว
• ผลจะมีอาการด่างลาย เขียวซีด หรือมีสีขาวสลับกับสีเขียวเข้ม ผิวขรุขระ และอาจทำให้มีรสขม ถ้าอาการรุนแรงจะทำให้ต้นแคระแกร็น ผลผลิตลดลง
• สามารถถ่ายทอดเชื้อได้โดยการสัมผัส เมล็ด และแมลงพาหะในกลุ่มเพลี้ยอ่อน เป็นต้น
✔ การป้องกันและกำจัดโรค
• กำจัดต้นที่เป็นโรค และวัชพืชต่าง ๆในแปลงปลูก เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส
• พ่นสารป้องกันกำจัดแมลงพาหะ โดยเฉพาะเพลี้ยอ่อน
• ปลูกพืชหมุนเวียน
◾️ โรครากปมบวบ (Root-knot disease)
• เกิดจากเชื้อไวรัส Meloidogyne sp.
✔ อาการของโรค
• พืชเติบโตช้า เหี่ยว เหลืองซีด แคระแกร็น
• ผลผลิตลดลง หรือตาย
• รากปมที่เกิดขึ้นมีลักษณะของการบวมโตออกโดยรอบจากภายในราก รูปร่างของปุ่มปมมีลักษณะกลมรี สีเหมือนรากปกติ เกิดได้ทั้งที่รากแก้ว รากแขนง และรากฝอย
✔ การป้องกันและกำจัดโรค
• ก่อนปลูกให้ไถดินตากแดดหลาย ๆ ครั้ง
• ปลูกพืชหมุนเวียนโดยไม่ใช้พืชอาศัย
• การควบคุมโดยชีววิธี ด้วยการใช้เชื้อรา Paecelomyces lilacinus หรือเชื้อราเห็ดเรืองแสง Neonothopanus nambi
◾ บำรุงผักกินผล ด้วย ปุ๋ยตรามงกุฎ แบบนี้!!
✔ ใส่ครั้งที่ 1 (หลังย้ายปลูก 7-10 วัน) ด้วยปุ๋ยตรามงกุฎ สูตร 18-8-8 หรือ 40-0-0 อัตรา 25-50 กก./ไร่ เพื่อเร่งการเจริญเติบโต ต้นและใบสมบูรณ์
✔ ใส่ครั้งที่ 2 (หลังใส่ปุ๋ยรอบที่ 1 ประมาณ 20-25 วัน) ด้วยปุ๋ยตรามงกุฎ สูตร 15-15-15 ทับทิม อัตราใส่ 25-50 กก./ไร่
• ข้อควรระวัง : การใส่ปุ๋ยในปริมาณที่สูงเกินไป จะทำให้ผักอวบน้ำ เปราะหักง่าย อ่อนแอไม่แข็งแรงและเป็นโรคได้ง่าย ดังนั้นควรใส่ปุ๋ยตามอัตราแนะนำ
หมายเหตุ : อัตราใส่สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามค่าวิเคราะห์ดิน ความสมบูรณ์ของต้นผัก ปริมาณต้นผักต่อไร่ หรือความชื้นดิน
ขอบคุณข้อมูลจาก : ไอซีพี ลัดดา และ กรมส่งเสริมการเกษตร
สอบถามราคาสถานที่จัดจำหน่าย และ ติดตามราคาพืชผลก่อนใครทาง LINE คลิกเลย! https://lin.ee/rNYeQyq
ติดตามคลิปความรู้สนุก ๆ จากน้องปุ๋ยขยันใน TikTok ได้ที่ https://www.tiktok.com/@mongkutfertilizer
#ปุ๋ยตรามงกุฎ #ปุ๋ยขยันทำงานทุกเม็ด #ปุ๋ยขยันทำงานตรงจุด #เริ่มต้นให้ตรงจุด #ปุ๋ยขยันสร้างผลผลิตไปได้สุด #ปุ๋ยขยันเต็มแรง #นิยมทั่วไทย #เกษตรกรรุ่นใหม่ #โรคพืช #โรคในพืช #เชื้อรา #เชื้อไวรัส #พืชตระกูลแตง #แตง