เตือนภัยหน้าฝน!  6 โรคในข้าวโพดที่ต้องระวัง!!

เตือนภัยหน้าฝน! 6 โรคในข้าวโพดที่ต้องระวัง!!


“ฝน” เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ที่พี่น้องเกษตรกรต่างเฝ้ารอคอย แต่ถ้าหากมีปริมาณมากเกินไป อาจก่อให้เกิดโรคต่าง ๆ ในพืช จนทำให้ผลผลิตของเราเสียหายได้ น้องปุ๋ยขยันจึงมาเตือนภัยถึง “6 โรคในข้าวโพด” ที่พี่น้องชาวไร่ข้าวโพดต้องเฝ้าระวังในช่วงหน้าฝนนี้กันครับ 

 

น้องปุ๋ยขยันรวมไว้ให้แล้ว รีบไปดูกันโล้ดดด! 

 

◾️ โรคในข้าวโพดช่วงหน้าฝน 

เป็นโรคที่สามารถเกิดขึ้นได้เนื่องจากมีน้ำและความชื้นสูง เหมาะแก่การเติบโตของเชื้อรา และเชื้อแบคทีเรีย โดยเชื้อสาเหตุของโรคเหล่านี้มีที่มาจากเมล็ดเพาะปลูก เศษซากของพืชที่ตกค้างในดิน สปอร์เชื้อราที่ปลิวตามลม รวมถึงแมลงที่สร้างความเสียหายให้กับข้าวโพด จนทำให้เชื้อเหล่านี้เข้าทำลายข้าวโพดได้ง่ายขึ้นนั่นเองครับ 

พี่น้องเกษตรกรจึงควรหมั่นตรวจสอบไร่ข้าวโพดอยู่เสมอ เพื่อให้สามารถป้องกันและกำจัดได้อย่างทันท่วงที โดยหลัก ๆ แล้วโรคในข้าวโพดจะมีตามนี้เลยคร้าบ

 

◾️ โรคราน้ำค้าง หรือโรคใบลาย

• เกิดจากเชื้อรา Peronosclerospora sorghi
• สามารถพบได้มากในช่วงฝนตกหนัก และสามารถเกิดขึ้นได้ตั้งแต่ช่วงข้าวโพดเพิ่งงอก ไปจนถึงอายุ 1 เดือน
• ลักษณะของโรค ได้แก่ ใบเป็นสีเหลืองปนเขียวอ่อน มีลายยาวบนใบ เมื่อเวลาผ่านไปจะกลายเป็นรอยไหม้และแห้งกรอบ ต้นข้าวโพดแคระแกร็น และตายได้ในที่สุด พบใยของเชื้อราได้ที่ข้างใต้ใบ

 

◾️ โรคใบไหม้แผลเล็ก

• เกิดจากเชื้อรา Bipolaris maydis
• สามารถพบได้ทุกช่วงของการเจริญเติบโตของข้าวโพด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสภาพอากาศร้อนชื้น
• ลักษณะของโรค ได้แก่ ใบจะมีรอยแผลเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีขอบสีน้ำตาลแดง เมื่อเวลาผ่านไปจะกลายเป็นรอยไหม้ อีกทั้งยังสามารถพบในส่วนอื่นนอกจากใบได้อีกด้วย

 

◾️ โรคราสนิม
• เกิดจากเชื้อรา Aecidium mori (Barel) Syd.et Butler
• สามารถพบได้มากในช่วงฤดูฝน ระหว่างเดือนสิงหาคมถึงเดือนพฤศจิกายน
• ลักษณะของโรค ได้แก่ ใบจะพบรอยแผลลักษณะเป็นตุ่มกลมสีน้ำตาลแดง ใบทั้งสองด้านจะนูน และโป่งพองขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั่งใบปริแตก เป็นสีส้มจัด จากนั้นทั้งใบจะเต็มไปด้วยแผล และแห้งตายในที่สุด 

 

◾️ โรคลำต้นเน่า

เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อราได้ 2 ชนิด

✔ เชื้อรา Macrophomina phaseolina
• สามารถพบได้ทุกระยะของข้าวโพด
• ลักษณะของโรค ได้แก่ พบเส้นใยภายในลำต้น มีลักษณะเป็นเม็ดสีดำคล้ายถ่านหินกระจัดกระจายโดยรอบ เนื้อเยื่อภายในถูกทำลายทำให้ลำต้นสามารถหักได้ง่าย

✔ เชื้อรา Fusarium moniliforme 
• สามารถพบได้ทุกระยะของข้าวโพด
• ลักษณะของโรค ได้แก่ พบเส้นใยสีขาวที่ฝัก ลำต้นเหี่ยวเฉา มีลักษณะเป็นขีด ๆ รอบลำต้น ภายในลำต้นจะเป็นสีชมพูหรือสีม่วง ลำต้นแห้งและหักได้ง่าย

 

◾️ โรคกาบใบแห้ง

• เกิดจากเชื้อรา Rhizoctonia solani
• สามารถพบได้ทุกระยะของข้าวโพด
• ลักษณะของโรค ได้แก่ โคนต้นช้ำ ลำต้นพับหัก ส่วนของใบ กาบใบ รวมถึงส่วนอื่น ๆ จะมีแผลไหม้เป็นสีนำ้ตาล พบเส้นใยของเชื้อราที่ข้างใต้ใบ

 

◾️ โรคใบจุดสีน้ำตาล

• เกิดจากเชื้อรา Physoderma maydis
• สามารถพบได้ทุกระยะของข้าวโพด
• ลักษณะของโรค ได้แก่ พบจุดสีน้ำตาลเข้มที่เส้นกลางใบ และส่วนอื่น ๆ เช่น ลำต้น เปลือกหุ้มฝัก เป็นต้น เมื่อเวลาผ่านไปจะเป็นรอยไหม้ 

 

นอกจากนี้เพื่อบำรุงข้าวโพดของพี่น้องทุกคนให้แข็งแรง โตไว ได้ผลผลิตที่ดี น้องปุ๋ยขยันจึงขอแนะนำให้ใส่ปุ๋ยตรามงกุฎแบบนี้เลยคร้าบ

 

◾️ รอบที่ 1 ระยะรองพื้น

ใส่ปุ๋ยตรามงกุฎ สูตร 18-8-8 หรือ 15-15-15 ทับทิม
อัตราใส่ 25-50 กก./ไร่

◾️ รอบที่ 2 ระยะทำรุ่น อายุ 25-30 วัน

ใส่ปุ๋ยตรามงกุฎ สูตร 40-0-0 
อัตราใส่ 30-50  กก./ไร่

◾ รอบที่ 3 ระยะแต่งหน้า อายุ 45-55 วัน
ใส่ปุ๋ยตรามงกุฎ สูตร 40-0-0
อัตราใส่ 15-20 กก./ไร่

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : เว็บไซต์ ไอซีพี ลัดดา

 

สอบถามราคาสถานที่จัดจำหน่าย และ ติดตามราคาพืชผลก่อนใครทาง LINE คลิกเลย! https://lin.ee/rNYeQyq 

ติดตามคลิปความรู้สนุก ๆ จากน้องปุ๋ยขยันใน TikTok ได้ที่ https://www.tiktok.com/@mongkutfertilizer

 

#ปุ๋ยตรามงกุฎ #ปุ๋ยขยันทำงานทุกเม็ด #ปุ๋ยขยันทำงานตรงจุด #เริ่มต้นให้ตรงจุด #ปุ๋ยขยันสร้างผลผลิตไปได้สุด #ปุ๋ยขยันเต็มแรง #นิยมทั่วไทย #เกษตรกรรุ่นใหม่ #ข้าวโพด #ไร่ข้าวโพด #ปลูกข้าวโพด #ปุ๋ยข้าวโพด #โรคในข้าวโพด #โรคในพืช #โรคในพืชหน้าฝน #หน้าฝน #ปัญหาหน้าฝน #เชื้อรา #เชื้อแบคทีเรีย