ชวนรู้จัก โรคกล้าเน่าในกระบะเพาะ ป้องกันและกำจัดแบบนี้!

ชวนรู้จัก โรคกล้าเน่าในกระบะเพาะ ป้องกันและกำจัดแบบนี้!


สวัสดีพี่น้องเกษตรกรกันอีกครั้งครับ

วันนี้น้องปุ๋ยขยันอยากมาให้ความรู้สำคัญที่ทุกคนควรรู้กันครับ นั่นก็คือ เรื่อง “โรคกล้าเน่าในกระบะเพาะ” พร้อมมาบอกอาการ วิธีป้องกัน และวิธีกำจัดกันอย่างครบถ้วนเลยคร้าบ เพื่อให้พี่ ๆ เกษตรกร พร้อมรับมือกับโรคในข้าวที่อาจเกิดขึ้นได้นั่นเองครับ

 

โรคกล้าเน่าในกระบะเพาะ เป็นอาการที่พบในกระบะตกกล้าที่ใช้กับรถปักดำ ในพื้นที่ที่ใช้เครื่องปักดำข้าว เบื้องต้นจะพบว่ามีอาการเน่าบริเวณราก จนเป็นสีน้ำตาล เกิดจากเชื้อราที่แพร่พันธุ์อย่างรวดเร็วในกระบะเพาะ ทำให้ต้นกล้าตาย และไม่สามารถนำไปปักดำในแปลงนาได้ในที่สุด

 

เห็นโรคร้ายแรงขนาดนี้แล้ว ก็รีบไปดูกันดีกว่าครับว่า อาการของโรคโดยละเอียดมีอะไรบ้าง ต้องป้องกัน และกำจัดอย่างไรดี  

 

◾ อาการ และการแพร่ระบาดของโรค

✔ โรคกล้าเน่าในกระบะเพาะ เกิดจากการใช้เมล็ดพันธุ์ที่เป็นโรคเมล็ดด่างมาทำการตกกล้า
✔ เริ่มพบอาการได้ในระยะหลังจากการตกกล้าข้าวในกระบะเพาะ โดยจะเริ่มพบเมล็ดข้าวบางส่วนที่ไม่งอก และมีเส้นใยของเชื้อราปกคลุม ส่วนเมล็ดที่งอกต้นกล้าจะมีการเจริญเติบโตช้ากว่าต้นกล้าข้าวปกติ
✔ เมื่อถอนต้นกล้าข้าวขึ้นมาดู ก็จะพบส่วนรากและโคนต้นกล้ามีแผลสีน้ำตาล โดยส่วนแผลที่เกิดบนโคนต้นจะลุกลามขึ้นไปยังส่วนบนของต้นกล้า ไม่นานจะทำให้ต้นกล้าเน่าตาย
✔ ในขณะเดียวกันเชื้อราสาเหตุของโรคจะขยายจากจุดเริ่มต้นที่เป็นโรค ออกไปบริเวณโดยรอบไปยังต้นกล้าข้างเคียง โดยในกรณีที่มีการตกกล้าที่หนาแน่นก็ยิ่งสามารถแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว ต่อจากนี้จะพบอาการตายของต้นกล้าข้าวเป็นหย่อม ๆ กรณีที่เป็นโรครุนแรงทำให้ไม่สามารถนำต้นกล้าข้าวนั้นไปใช้ปักดำได้

 

◾ วิธีป้องกัน และกำจัดโรค

1. ก่อนตกกล้า ให้นำเมล็ดพันธุ์ไปคลุกด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช เช่น คาร์เบนดาซิม + แมนโคเซบ ในอัตรา 3 กรัมต่อเมล็ดพันธุ์ 1 กิโลกรัม
2. หลังจากใช้กระบะเพาะให้ล้างทำความสะอาดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ เช่น สารคลอรีน
3. เผาทำลายต้นกล้าที่เป็นโรคเน่าตายในกระบะเพาะ เพื่อเป็นการกำจัดเชื้อราไม่ให้ลุกลามได้
4. ไม่ควรใช้เมล็ดพันธุ์จากแปลงที่มีการระบาดของโรคเมล็ดด่างมาก่อน อาจเกิดความเสี่ยงในการเกิดโรคได้

 

และเมื่อพี่น้องได้ต้นกล้าข้าวที่สมบูรณ์ ปราศจากโรค พร้อมนำไปปักดำแล้ว อย่าลืมบำรุงนาข้าวด้วยปุ๋ยตรามงกุฎ สูตรที่น้องปุ๋ยขยันนำมาฝาก แบบนี้เลยนะคร้าบ

 

✔  วิธีที่ 1

รอบแรก (ข้าวอายุ 20-25 วัน) ใช้สูตร 18-8-8 อัตรา 35-40 กก./ไร่
รอบสอง (ข้าวอายุ 45-50 วัน) ใช้สูตร 15-15-15 ทับทิม อัตรา 35-40 กก./ไร่

 

✔  วิธีที่ 2

รอบแรก (ข้าวอายุ 20-25 วัน) ใช้สูตร 40-0-0+1MgO+3.5S อัตรา 15-25 กก./ไร่
รอบสอง (ข้าวอายุ 45-50 วัน) ใช้สูตร 15-15-15 ทับทิม อัตรา 25-40 กก./ไร่

 

✔  วิธีที่ 3

รอบแรก (ข้าวอายุ 20-25 วัน) ใช้สูตร 18-8-8 ผสมกับ 40-0-0+1MgO+3.5S (สัดส่วน 1:1) อัตรา 35-40 กก./ไร่
รอบสอง (ข้าวอายุ 45-50 วัน) ใช้สูตร 15-15-15 ทับทิม ผสมกับ 40-0-0+1MgO+3.5S (สัดส่วน 1:1) อัตรา 35-40 กก./ไร่

 

หมายเหตุ : อัตราใส่สามารถปรับเปลี่ยนได้ ขึ้นอยู่กับค่าวิเคราะห์ดิน ความสมบูรณ์ต้น จำนวนต้น/ไร่ ปริมาณผลผลิตหรือความชื้นดิน

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : กรมการข้าว

สอบถามราคาสถานที่จัดจำหน่าย และ ติดตามราคาพืชผลก่อนใครทาง LINE คลิกเลย! https://lin.ee/rNYeQyq 

ติดตามคลิปความรู้สนุก ๆ จากน้องปุ๋ยขยันใน TikTok ได้ที่ https://www.tiktok.com/@mongkutfertilizer


#ปุ๋ยตรามงกุฎ #ปุ๋ยขยันทำงานทุกเม็ด #ปุ๋ยขยันเต็มแรง #นิยมทั่วไทย #เกษตรกรรุ่นใหม่ #โรคในพืช #โรคในข้าว #ปลูกข้าว #โรคกล้าเน่า #โรคกล้าเน่าในกระบะเพาะ #เชื้อรา