น้องปุ๋ยขยันชวนรู้! ผลพลอยได้หลังเก็บเกี่ยวอ้อย ในอุตสาหกรรมฯ ด้านต่าง ๆ

น้องปุ๋ยขยันชวนรู้! ผลพลอยได้หลังเก็บเกี่ยวอ้อย ในอุตสาหกรรมฯ ด้านต่าง ๆ


อย่างที่พี่น้องเกษตรกรทราบกันดีว่า "อ้อย" ถือเป็นพืชไร่เศรษฐกิจที่มีความสำคัญต่อ อุตสาหกรรมน้ำตาลของประเทศเป็นอย่างมาก และนอกจากนี้ยังมีผลพลอยได้ในด้านอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นจากการเก็บเกี่ยวผลผลิตอีกด้วย

วันนี้น้องปุ๋ยขยันจะขออาสาพาพี่น้องเกษตรกรไปดูกันว่า ผลพลอยได้ในด้านต่าง ๆ หลังการเก็บเกี่ยวและแปรรูปอ้อยนั้นจะมีอะไรบ้าง ตามไปดูกันเลยคร้าบบ


 

◾️ ผลพลอยได้ในด้านอุตสาหกรรมอาหารสัตว์

ผลพลอยได้จากการปลูกอ้อย ได้แก่ ยอดอ้อย และใบอ้อย สามารถนำมาใช้เป็นอาหารหยาบเลี้ยงโค - กระบือ เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนหญ้า หรือพืชอาหารสัตว์ได้ ในรูปแบบของการใช้สด แห้ง หรือนำไปหมักก็ได้เช่นกัน แต่ถึงแม้ว่ายอดอ้อยและใบอ้อย จะสามารถนำไปใช้เป็นอาหารสัตว์ได้ แต่ยังคงมีข้อเสียอยู่เล็กน้อย นั่นก็คือการที่มีไนโตรเจน และปริมาณโปรตีนต่ำ ซึ่งปัญหาและข้อเสียเหล่านี้สามารถแก้ได้ โดยการใช้ยอดอ้อย หรือใบอ้อยร่วมกับอาหารข้น หรือพืชอาหารสัตว์ที่มีโปรตีนสูง เช่น ใบปอ ใบกระถิน ใบมันสำปะหลังแห้ง หรือเศษพืชตระกูลถั่วต่าง ๆ และใบผักตบชวา หรือใช้แหล่งโปรตีนที่หาง่าย และมีราคาถูกชนิดอื่น ๆ เช่น แหล่งอาหารไนโตรเจนที่ไม่ใช่โปรตีน ซึ่งนิยมใช้ยูเรีย มูลไก่ หรือวัสดุรองพื้น เป็นต้น

 

✔ การใช้เลี้ยงสัตว์และข้อจำกัด

• ใช้เป็นแหล่งอาหารหยาบ ได้ทั้งในรูปสด หมัก หรืออบแห้ง โดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้ง และควรใช้ร่วมกับอาหารข้น หรือวัตถุดิบอาหารสัตว์อื่น ๆ เช่น ใบพืชตระกูลถั่ว ใบมันสำปะหลัง เพราะยอดอ้อยมีคุณค่าทางอาหารต่ำ
• ยอดอ้อยมักมีอยู่ในไร่แบบกระจัดกระจาย ในบางพื้นที่อาจมีปัญหาในการเก็บรวบรวมมาใช้
• ในกรณีที่มีการเลี้ยงโค - กระบืออยู่ใกล้ ๆ พื้นที่ปลูกอ้อย ควรนำวัสดุเหลือนี้มาใช้ประโยชน์เป็นอาหารสัตว์ และเก็บถนอมไว้ในกรณีมีมากเหลือเฟือ เพื่อใช้ในช่วงขาดแคลนอาหารหยาบ
• กรณีใช้กับสัตว์ที่ให้ผลผลิตสูง ควรเสริมอาหารข้น ที่ปรับระดับพลังงานและโปรตีนให้สูงขึ้นเพื่อการใช้ประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพ

 

◾️ ผลพลอยได้ในด้านอุตสาหกรรมพลังงาน

อ้อย นอกจากจะมีประโยชน์ด้านอาหารคน อาหารสัตว์ ผลิตน้ำตาล เป็นเครื่องปรุงอาหาร หรือคุณค่าด้านอื่น ๆ เศษซากของอ้อยที่เหลือจากกระบวนการผลิตน้ำตาลที่เรียกว่า “โมลาส” ยังสามารถนำมาผลิตเป็นพลังงานทางเลือกอย่าง “เอทานอล” เพื่อทดแทนการนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศของไทยได้ ซึ่งเอทานอลเป็นแอลกอฮอล์ชนิดหนึ่งที่เกิดจากการหมักพืช หรือเศษซากพืช ได้แก่ อ้อย กากน้ำตาล กากอ้อย มันสำปะหลัง มันเทศ หรือธัญพืชต่าง ๆ เช่น ข้าวโพด ข้าว ข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ และข้าวฟ่าง โดยเปลี่ยนแป้งจากพืชให้เป็นน้ำตาลแล้วเปลี่ยนจากน้ำตาลเป็นแอลกอฮอล์อีกครั้ง แอลกอฮอล์ที่ทำให้บริสุทธิ์ 95% จะเรียกว่า เอทานอล (Ethanol)

 

✔ บทบาทด้านพลังงานของอ้อย

กากน้ำตาลที่เหลือจากกระบวนการผลิตน้ำตาลที่เรียกว่าโมลาส สามารถนำมาผลิตเป็นพลังงานทางเลือกอย่าง เอทานอล (Ethanol) เพื่อทดแทนการนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศได้อีกด้วย ซึ่งการส่งเสริมธุรกิจเอทานอล ถือเป็นหนึ่งในการยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรไทย ทั้งยังช่วยลดปัญหาภาวะโลกร้อนที่เกิดขึ้นในปัจจุบันได้เป็นอย่างดี

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : สำนักพัฒนาอาหารสัตว์ กรมปศุสัตว์

สอบถามราคาสถานที่จัดจำหน่าย และ ติดตามราคาพืชผลก่อนใครทาง LINE คลิกเลย! https://lin.ee/rNYeQyq 

ติดตามคลิปความรู้สนุก ๆ จากน้องปุ๋ยขยันใน TikTok ได้ที่ https://www.tiktok.com/@mongkutfertilizer

 

#ปุ๋ยตรามงกุฎ #ปุ๋ยขยันทำงานทุกเม็ด #ปุ๋ยขยันเต็มแรง #นิยมทั่วไทย #เกษตรกรรุ่นใหม่ #อ้อย #ผลพลอยได้หลังเก็บเกี่ยวอ้อย #กากอ้อย #กากน้ำตาล #บทบาทด้านพลังงานของอ้อย #ผลพลอยได้ของอ้อยในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์