เชื่อว่าพี่น้องผู้ปลูกข้าวโพดหลายท่านต่างทราบกันดีอยู่แล้ว ว่าธาตุอาหารหลักอย่าง ไนโตรเจน(N) ฟอสฟอรัส(P) และโพแทสเซียม(K) ล้วนมีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของพืชทั้งสิ้น
วันนี้น้องปุ๋ยขยันขอหยิบยกความสำคัญของ #ธาตุโพแทสเซียม ที่มีบทบาทสำคัญต่อกระบวนการทางสรีรวิทยาและชีวเคมีในพืช ตั้งแต่กระบวนการสังเคราะห์แสง การหายใจของพืช การลำเลียงธาตุอาหาร การสร้างโปรตีนและน้ำมัน ดังนั้นพืชจึงขาดโพแทสเซียมไม่ได้เลยล่ะครับ
ซึ่งครั้งนี้น้องปุ๋ยขยันจะพาพี่ ๆ ไปเจาะลึกกันว่าธาตุโพแทสเซียมนั้นมีความสำคัญอย่างไร แล้วเราควรจะเลือกใส่ตอนไหน ข้าวโพดถึงจะนำไปใช้ประโยชน์ได้มากที่สุด… ถ้าพร้อมแล้วตามมาดูกันเลยครับ!
◾️ธาตุโพแทสเซียม(K) สำคัญอย่างไร?
ธาตุโพแทสเซียม (Potassium; K) มีความสำคัญในการสร้างการเจริญเติบโต ความแข็งแรงของลำต้นและการสร้างเมล็ด ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์มีการดูดใช้ธาตุโพแทสเซียมไปสะสมอยู่ในส่วนของเมล็ด ซัง ต้น ใบ และกาบใบ รวมประมาณ 17 กิโลกรัมโพแทสเซียม/ผลผลิตข้าวโพด 1 ตัน ส่วนที่มีการสะสมธาตุโพแทสเซียม(K) อยู่มากที่สุดคือ ต้น ใบ และเมล็ด ตามลำดับ (เอกสารวิชาการ คำแนะนำการใช้ปุ๋ยตาค่าวิเคราะห์ดิน สำหรับพืชไร่เศรษฐกิจ. กองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, 2564)
◾️อาการขาดธาตุโพแทสเซียม
ต้นข้าวโพดจะมีลักษณะเตี้ย แคระแกร็น ปล้องสั้น เติบโตช้า เพราะเนื้อเยื่อที่อยู่บริเวณปล้อง (Internode) ไม่เจริญ เนื้อเยื่อของผนังเซลล์ไม่แข็งแรง ลำต้นอ่อนแอหักล้มง่าย ใบแก่ขอบใบจะมีสีเหลืองซีดโดยเริ่มจากปลายใบลุกลามเข้าสู่เส้นกลางใบ หากมีอาการรุนแรงขอบใบจะแห้งมีสีน้ำตาลไหม้บริเวณปลายใบ ปลายฝักเรียว เมล็ดมีอาการเหี่ยวย่นหรือบิดเบี้ยว
◾️ธาตุโพแทสเซียม (K) ใส่ตอนไหนดี?
จากที่น้องปุ๋ยขยันได้กล่าวไปแล้วในช่วงต้น ว่าธาตุโพแทสเซียมนั้นมีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตเป็นอย่างมาก จะเห็นได้ว่ามีการสะสมธาตุโพแทสเซียม(K) อยู่มากที่สุดคือ ต้น ใบ และเมล็ด ตามลำดับ
นอกจากนี้ธาตุโพแทสเซียมยังมีบทบาทสำคัญต่อกระบวนการทางสรีรวิทยาและชีวเคมีในพืช ตั้งแต่กระบวนการสังเคราะห์แสง การหายใจของพืช การลำเลียงธาตุอาหาร ตลอดจนการสร้างโปรตีนและน้ำมัน
ดังนั้นการใส่ปุ๋ยโพแทสเซียมในข้าวโพดจึงจำเป็นต้องใส่ตั้งแต่การเตรียมดินปลูก หรือการใส่ในรอบ “รองพื้นพร้อมปลูก” เพื่อให้มีการแตกตัวของโพแทสเซียมไอออน (K+) ไปเป็นประโยชน์ต่อข้าวโพดตั้งแต่การพัฒนาลำต้น และใบ ตลอดจนการดูดใช้ธาตุโพแทสเซียมไปสะสมที่ ลำต้น และใบ ก่อนการสร้างเมล็ด
และการที่ข้าวโพดได้รับธาตุโพแทสเซียมในช่วงนี้ยังสามารถส่งเสริมให้ข้าวโพดมีลำต้นที่แข็งแรง เจริญเติบโตดี ต้นและใบสมบูรณ์ เป็นการเตรียมความพร้อมให้กับต้นข้าวโพดก่อนการออกดอกติดเมล็ดในอนาคต
ข้อแนะนำ : ควรพิจารณาการใส่ธาตุโพแทสเซียมจากค่าวิเคราะห์ดิน เนื่องจากดินส่วนใหญ่ในพื้นที่เพาะปลูกข้าวโพดจะมีปริมาณธาตุโพแทสเซียมเพียงพอต่อความต้องการอยู่แล้ว โดยเฉพาะดินที่มีอนุภาคดินเหนียวเป็นองค์ประกอบ
◼️ คำแนะนำการใส่ปุ๋ยข้าวโพดตรามงกุฎ
◾️วิธีที่ 1 แบบใส่ปุ๋ย 2 รอบ
▪️ รอบแรก (รองพื้นพร้อมปลูก) ใส่สูตร 18-8-8 หรือ 15-15-15 ทับทิม (สูตรใดสูตรหนึ่ง) อัตรา 25-50 กก./ไร่
▪️ รอบสอง (ทำรุ่น อายุ 25-30 วันหลังปลูก) ใส่สูตร 40-0-0 อัตรา 30-50 กก./ไร่
◾️วิธีที่ 2 แบบใส่ปุ๋ย 3 รอบ
▪️ รอบแรก (รองพื้นพร้อมปลูก) ใส่สูตร 18-8-8 หรือ 15-15-15 ทับทิม (สูตรใดสูตรหนึ่ง) อัตรา 25-50 กก./ไร่
▪️ รอบสอง (ทำรุ่น อายุ 25-30 วันหลังปลูก) ใส่สูตร 40-0-0 อัตราใส่ 30-50 กก./ไร่
▪️ รอบที่สาม (แต่งหน้า อายุ 45-55 วันหลังปลูก) ใส่สูตร 40-0-0 อัตราใส่ 15-20 กก./ไร่
หมายเหตุ : พิจารณาเลือกใส่ 2 ครั้ง หรือ 3 ครั้ง จากการแสดงอาการขาดธาตุอาหารในช่วงก่อนออกดอก หรือพิจารณาจากเนื้อดินหากมีส่วนผสมของอนุภาคดินทรายมากให้เลือกใส่แบบ 3 ครั้ง อัตราใส่สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามค่าวิเคราะห์ดิน จำนวนต้น/ไร่ ความสมบูรณ์ต้น หรือความชื้นดิน
ขอบคุณข้อมูลจาก :
- เอกสารวิชาการ คำแนะนำการใช้ปุ๋ยตาค่าวิเคราะห์ดิน สำหรับพืชไร่เศรษฐกิจ. กองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 2564
- เอกสารการเรียนการสอบ “ความอุดมสมบูรณ์ของดินและโภชนาการพืช” คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
สอบถามราคาสถานที่จัดจำหน่าย และ ติดตามราคาพืชผลก่อนใครทาง LINE คลิกเลย! https://lin.ee/rNYeQyq
ติดตามคลิปความรู้สนุก ๆ จากน้องปุ๋ยขยันใน TikTok ได้ที่ https://www.tiktok.com/@mongkutfertilizer
#ปุ๋ยตรามงกุฎ #ปุ๋ยขยันทำงานทุกเม็ด #ปุ๋ยขยันเต็มแรง #นิยมทั่วไทย #เกษตรกรรุ่นใหม่ #ปุ๋ยข้าวโพด #ปลูกข้าวโพด #ข้าวโพด #เครื่องหยอดข้าวโพด #ข้าวโพดหวาน #ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ #พันธุ์ข้าวโพด #ธาตุอาหารสำคัญในข้าวโพด #ธาตุโพแทสเซียม