ชวนไขกระจ่าง!  ไถกลบตอซังและฟางข้าว ดีอย่างไร??

ชวนไขกระจ่าง! ไถกลบตอซังและฟางข้าว ดีอย่างไร??


หลังเก็บเกี่ยวข้าวแล้ว สิ่งที่หลงเหลือในนาก็คือ “ตอซังข้าว” ซึ่งปกติแล้วพี่น้องเกษตรกรมักจะทำลายตอซังเหล่านี้ เพื่อเตรียมดินสำหรับปลูกข้าวในรอบต่อไปใช่มั้ยล่ะครับ แต่ ๆๆ พี่น้องทราบมั้ยครับว่าจริง ๆ แล้ว #ตอซัง และ #ฟางข้าว มีประโยชน์มากกว่าที่คิดอีกนะ!!

 

วันนี้น้องปุ๋ยขยันจะพาพี่ ๆ ไปไขกระจ่างกันครับ ว่าการไถกลบตอซังและฟางข้าว มีข้อดีอย่างไรบ้าง... ถ้าพร้อมแล้วตามไปดูกันเลย!

 

ฟางข้าว คือส่วนของต้นข้าวที่เหลือหลังการเก็บเกี่ยว และนำเมล็ดข้าวออกแล้ว แบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่ 

• ฟางข้าวจากการเกี่ยวมือ

• ฟางข้าวจากการเกี่ยวมือ และนวดด้วยรถนวด 

• ฟางข้าวจากรถเกี่ยวข้าว

 

ทั้งนี้ “ฟางข้าว” ถือเป็นผลพลอยได้ทางการเกษตรจากนาข้าวที่มีประโยชน์มาก เพราะอุดมไปด้วยธาตุแคลเซียม ฟอสฟอรัส และไนโตรเจน ที่ถือว่าเป็นปุ๋ยชั้นดี แถมยังช่วยปรับโครงสร้างของดินที่เป็นกรดหรือด่างให้เกิดความสมดุล ช่วยรักษาความชุ่มชื้นให้แก่ดิน ทำให้ประหยัดน้ำในการรดต้นพืช นอกจากนี้ดินที่คลุมด้วยฟางจะเป็นอาณาจักรของสัตว์ที่เป็นมิตรกับต้นพืช ทำให้การระบาดของแมลงศัตรูพืชค่อย ๆ หายไป โดยไม่ต้องใช้สารเคมี

 

การไถกลบตอซัง หมายถึง การไถกลบตอซังข้าวหรือพืชไร่ที่มีอยู่ในไร่นา ภายหลังจากการเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วลงไปในดินระหว่างการเตรียมพื้นที่เพาะปลูกขณะที่ดินมีความชื้น และปล่อยทิ้งไว้ช่วงระยะเวลาหนึ่ง เพื่อให้เกิดกระบวนการย่อยสลายในดิน ซึ่งจะกลายเป็นแหล่งของอินทรียวัตถุและธาตุอาหารพืช แล้วจึงปลูกพืชหลักตามที่ต้องการต่อไป

 

◾️ ข้อดีของการไถกลบตอซังข้าว

1. ปรับปรุงสมบัติทางกายภาพของดิน

    1.1 ทำให้ดินโปร่ง ร่วนซุย

    1.2 การระบายอากาศของดินเพิ่มมากขึ้น

    1.3 การอุ้มน้ำของดินให้ดีขึ้น

 

2. ปรับปรุงสมบัติทางเคมีของดิน

    2.1 เป็นการเพิ่มธาตุอาหารให้แก่ดิน

    2.2 ช่วยดูดยึดธาตุอาหารจากการใส่ปุ๋ยเคมีไม่ให้สูญเสียไปจากดิน

    2.3 ช่วยเพิ่มความต้านทานการเปลี่ยนแปลงความเป็นกรดเป็นด่างของดิน

    2.4 ช่วยลดความเป็นพิษของเหล็กและแมงกานีสในดิน

    2.5 ช่วยลดความเป็นพิษจากดินเค็ม

 

3. ปรับปรุงสมบัติทางชีวภาพของดิน

    3.1 อินทรียวัตถุเป็นแหล่งอาหารและแหล่งพลังงานของจุลินทรีย์ดิน

    3.2 การเพิ่มปริมาณหรือจำนวนของจุลินทรีย์ดิน

 

◾️ ข้อจำกัดของการไถกลบตอซังข้าว

•  ใช้แรงงานและระยะเวลาในการไถกลบตอซัง

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : มูลนิธิเกษตรรักษ์สิ่งแวดล้อม, กรมพัฒนาที่ดิน, กลุ่มระบบงานวิจัย กองแผนงาน กองแผนงาน ร่วมกับกลุ่มวิจัยและพัฒนาอินทรียวัตถุเพื่อการเกษตรสำนักวิจัยและพัฒนาการจัดการที่ดิน

 

สอบถามราคาสถานที่จัดจำหน่าย และ ติดตามราคาพืชผลก่อนใครทาง LINE คลิกเลย! https://lin.ee/rNYeQyq

ติดตามคลิปความรู้สนุก ๆ จากน้องปุ๋ยขยันใน TikTok ได้ที่ https://www.tiktok.com/@mongkutfertilizer

 

#ปุ๋ยตรามงกุฎ #ปุ๋ยขยันทำงานทุกเม็ด #ปุ๋ยขยันเต็มแรง #นิยมทั่วไทย #เกษตรกรรุ่นใหม่ #ไถกลบตอซัง #ฟางข้าว #ประโยชน์ฟางข้าว