ช่วงนี้อากาศเริ่มหนาวเย็น + มีลมแรง พี่น้องผู้ปลูกหอมแดง-หอมใหญ่ โปรดระวัง!! #โรคแอนแทรคโนส หรือ #โรคหอมเลื้อย หรือ #โรคหมานอน บุกเข้าทำลาย หากรับมือแก้ไขไม่ทัน ผลผลิตเสียหายได้ทั้งแปลงเลยนะครับ เพราะฉะนั้น เพื่อไม่ให้พี่น้องเกษตรกรผู้ปลูกหอมแดง-หอมใหญ่ ต้องเสี่ยงได้รับความเสียหายจากโรคนี้ เรามารู้ทันป้องกันแบบนี้กันดีกว่า!!
◼️เชื้อสาเหตุ
เกิดจากเชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides
◼️ระยะที่ระบาด
ระยะเริ่มปลูก-เจริญเติบโตทางลำต้น
◼️สภาพที่เหมาะสมต่อการเกิดโรค
อากาศเย็นในตอนเช้า และมีลมแรง
◼️อาการของโรค
พบได้บนใบ กาบใบ หรือ ส่วนหัว โดยเริ่มแรกพบจุดฉ่ำน้ำขนาดเล็ก สีเขียวหม่น ต่อมาขยายใหญ่เป็นแผลรูปกลมหรือรี เนื้อแผลยุบลงเล็กน้อย บนแผลมีหยดของเหลวสีชมพูอมส้ม ซึ่งเป็นกลุ่มสปอร์ของเชื้อราสาเหตุโรค เมื่อแห้งจะเห็นตุ่มเล็ก ๆ สีน้ำตาลดำ เรียงเป็นวงรีซ้อนกันหลายชั้น ถ้าแผลขยายใหญ่หรือหลายแผลมาชนกันจะทำให้หักพับ แห้งตาย หรือเน่าตายทั้งต้น ทำให้ผลผลิตลดลง หากเป็นโรคในระยะที่ต้นหอมยังไม่ลงหัว จะทำให้ต้นแคระแกร็น ใบบิดเป็นเกลียว ถ้าอาการรุนแรง ต้นจะเลื้อยไม่ลงหัว หากเป็นโรคในระยะที่ต้นหอมเริ่มลงหัว จะทำให้หัวลีบยาว บิดโค้งงอ ส่วนกาบใบที่อยู่บริเวณเหนือหัวหอม (คอหอม) มักยืดยาว มีระบบรากสั้นกว่าปกติ ทำให้ไม่ได้ผลผลิต
◼️แนวทางการป้องกัน/ แก้ไข
1. ก่อนปลูกควรไถตากดิน 2-3 แดด ใส่ปูนขาว และปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยอินทรีย์ เพื่อปรับสภาพดิน
2. ใช้ส่วนขยายพันธุ์ที่ปราศจากโรค โดยแช่หัวพันธุ์ หรือต้นกล้าก่อนปลูกด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช เช่น โพรคลอราซ 50% WP อัตรา 40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร นาน 15-20 นาที
3. ตรวจแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ เมื่อพบโรคให้พ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช ชนิดใดชนิดหนึ่ง หากโรคยังคงระบาดควรพ่นซ้ำทุก 5 วัน แต่ไม่ควรเกิน 4 ครั้ง แล้วสลับพ่นด้วย แมนโคเซบ 80% WP อัตรา 40-50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร เพื่อป้องกันการดื้อยาของเชื้อสาเหตุโรค สารเคมีที่ใช้ฉีดพ่นมีดังนี้
▪️ โพรคลอราช 50% WP อัตรา 20 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร
▪️ อะซอกซีสโตรบิน 25% SC อัตรา 10 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร
▪️ ไดฟีโนโคนาโซล 25% EC อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร
▪️ คาร์เบนดาซิม 50% SC อัตรา 15 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร
▪️ ไพราโคลสโตรบิน 25% EC อัตรา 10 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร ต้นที่เป็นโรครุนแรง ควรถอนนำไปทำลายนอกแปลง เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งแพร่ระบาดของโรค
4. หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว ควรเก็บซากพืชที่เป็นโรคไปทำลายนอกแปลงปลูกให้หมด เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งสะสมของเชื้อสาเหตุโรค
5. แปลงที่มีการระบาดของโรครุนแรง ควรปลูกพืชอื่นที่ไม่ใช่สกุลหอมกระเทียมสลับ อย่างน้อย 2 ปี
ขอบคุณข้อมูลจาก : กรมวิชาการเกษตร
สอบถามราคาสถานที่จัดจำหน่าย และ ติดตามราคาพืชผลก่อนใครทาง LINE คลิกเลย! https://lin.ee/rNYeQyq
#ปุ๋ยตรามงกุฎ #ปุ๋ยขยันทำงานทุกเม็ด #ปุ๋ยขยันเต็มแรง #นิยมทั่วไทย #เกษตรกรรุ่นใหม่ #ปลูกผัก #ปลูกผักสวนครัว #ผักสวนครัว #วิธีปลูกผัก #การปลูกผักสวนครัว #ปุ๋ยผัก #ปุ๋ยผักสวนครัว #ปุ๋ยผักใบเขียว #ปุ๋ยผักใบ #ปุ๋ยผักกินใบ #ปุ๋ยผักกินผล #โรคแอนแทรคโนส #โรคหอมเลื้อย #โรคหมานอน #โรคในหอมแดง #โรคในหอมใหญ่