เชื่อว่าพี่น้องเกษตรกรหลายคน เวลาจะใส่ปุ๋ยให้กับพืชแต่ละที มักสนใจอยู่ที่ธาตุอาหารหลักอย่าง ไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) และโพแทสเซียม (K) เป็นอันดับแรกใช่มั้ยล่ะครับ
แต่ทราบมั้ยครับว่าจริง ๆ แล้ว “พืชยังต้องการธาตุอาหารอื่น ๆ” เพื่อใช้ในการเจริญเติบโตอีกด้วย หากขาดไปก็จะทำให้พืชเจริญเติบโตได้ไม่เต็มที่ ไม่ต่างอะไรกับเรา ที่ยังต้องรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่เลย
วันนี้น้องปุ๋ยขยันจะพาพี่ ๆ ไปดูกันครับว่าธาตุอาหารรอง อย่าง #แมกนีเซียม และ #ซัลเฟอร์ จะมีความสำคัญกับข้าวอย่างไรบ้าง แล้วเราจะหาแหล่งธาตุอาหารได้จากที่ไหน ถ้าอยากรู้แล้ว ตามมาดูกันเลยครับ!
◾️ธาตุแมกนีเซียม (Mg)
#ความสำคัญ ช่วยในการทำงานของเอนไซม์หลายชนิด เป็นองค์ประกอบหนึ่งของคลอโรฟิลล์ จึงมีส่วนช่วยในการสังเคราะห์แสงและการสังเคราะห์โปรตีน แมกนีเซียมเป็นธาตุที่เคลื่อนย้ายได้ง่าย
#อาการขาดธาตุ ต้นข้าวที่ขาดแมกนีเซียมจะมีอาการคล้ายการขาดโพแทสเซียม (K) คือจะมีสีซีด พื้นที่ระหว่างเส้นใบจะเป็นสีเขียวซีด โดยจะเกิดกับใบแก่ก่อนและเมื่อขาดมากขึ้นจะลามมาถึงใบอ่อน ในกรณีที่ขาดรุนแรงใบแก่ของข้าวจะกลายเป็นสีเหลือง ข้าวมีการแตกกอ จำนวนใบและขนาดใบปกติ แต่ใบจะบิดไปมาและโน้มลง (Droopy) ข้าวจะมีจำนวนและน้ำหนักเมล็ดลดลง คุณภาพเมล็ดไม่ดี การขาดแมกนีเซียมมักพบในดินที่เป็นกรดและมี CEC ต่ำ และดินทรายที่มีอัตราการซึมน้ำและการชะล้างสูง
#แหล่งธาตุแมกนีเซียม (Mg) การให้แมกนีเซียมแก่พืชอย่างเพียงพอ ไม่เพียงแต่จะทำให้แมกนีเซียมอยู่ในระดับที่สมบูรณ์เท่านั้น แต่ยังจะทำให้เกิดสมดุลของอัตราส่วนระหว่างแคลเซียม (Ca) แมกนีเซียม (Mg) และโพแทสเซียม (K) อีกด้วย การเสริมธาตุแมกนีเซียมให้พืช มี 2 วิธี ได้แก่
1.การใส่ปุ๋ยแมกนีเซียมทางดิน เช่น แมกนีเซียมซัลเฟต การปรับความเป็นกรดด่างของดินให้มีความเป็นกลางโดยการใส่โดโลไมท์ หรือการใช้ปุ๋ยที่มีส่วนผสมของธาตุแมกนีเซียม เช่น ปุ๋ยตรามงกุฎ สูตร 40-0-0
2.การฉีดพ่นแมกนีเซียมทางใบ ช่วยกระตุ้นให้พืชมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว และสามารถช่วยแก้ปัญหาการขาดแมกนีเซียมในพืชได้อย่างมีประสิทธิภาพ
◾️ธาตุซัลเฟอร์ (S) หรือกำมะถัน
#ความสำคัญ มีความจำเป็นต่อการสร้างโปรตีนพืช สร้างกรดอะมิโนและวิตามินบางชนิด รวมไปถึงการผลิตเอนไซม์ของพืช โดยเฉพาะกลุ่มพืชผักและไม้ผล เนื่องจากเป็นธาตุที่มีส่วนช่วยในการนำไนเตรต-ไนโตรเจนไปใช้ในพืชเพิ่มมากขึ้น โดยทั่วไปพืชจะใช้ธาตุซัลเฟอร์ในรูปของซัลเฟต การที่ในดินมีปริมาณธาตุซัลเฟอร์น้อยจะส่งผลโดยตรงต่อคุณภาพผลผลิตที่จะลดลง
#อาการขาดธาตุ พืชที่ขาดธาตุซัลเฟอร์จะมีสีเขียวอ่อน หรือเหลืองคล้าย ๆ อาการขาดไนโตรเจน ใบขนาดเล็กลง ยอดของพืชจะชะงักการเจริญเติบโต ลำต้นและกิ่งก้านลีบเล็ก อาการขาดธาตุซัลเฟอร์จะมีอาการแตกต่างจากขาดธาตุไนโตรเจน คือจะปรากฏที่ยอดอ่อนก่อน ส่วนใบล่างยังคงปกติ ถ้าอาการรุนแรงใบล่างก็จะมีอาการด้วยเช่นกัน ซึ่งจะตรงข้ามกับอาการของการขาดไนโตรเจนที่จะแสดงอาการที่ใบล่างก่อน
#แหล่งธาตุซัลเฟอร์ (S)
1. การใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยพืชสด เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยแก้ปัญหาการขาดธาตุซัลเฟอร์ (S) ในดินได้
2. การใส่ธาตุซัลเฟอร์โดยตรงลงในดิน หรือการใส่ปุ๋ยที่มีส่วนผสมของธาตุซัลเฟอร์ เช่น ปุ๋ยตรามงกุฎ สูตร 40-0-0 แต่ข้อควรระวังในการใส่คือ หากใส่มากเกินความจำเป็นจะทำให้ดินเป็นกรด
สอบถามราคาสถานที่จัดจำหน่าย และ ติดตามราคาพืชผลก่อนใครทาง LINE คลิกเลย! https://lin.ee/rNYeQyq
#ปุ๋ยตรามงกุฎ #ปุ๋ยขยันทำงานทุกเม็ด #ปุ๋ยขยันเต็มแรง #นิยมทั่วไทย #ธาตุอาหารในพืช #ธาตุอาหารรอง #ธาตุแมกนีเซียม #ธาตุซัลเฟอร์ #ธาตุกำมะถัน #อาการขาดธาตุอาหารในพืช #แหล่งธาตุอาหารของพืช