“ฤดูฝน” ถือเป็นฤดูปราบเซียนของพี่น้องชาวไร่ข้าวโพดเลยทีเดียว เพราะเป็นช่วงที่ข้าวโพดเสี่ยงต่อการถูกเข้าทำลายของโรคหลายชนิด ไม่ว่าจะสาเหตุจากเชื้อราหรือแบคทีเรีย ซึ่งอาจติดมากับเมล็ด เศษซากพืชในแปลง หรืออยู่ในดินเป็นเวลานาน เพื่อไม่ให้ผลผลิตเสียหาย วันนี้น้องปุ๋ยขยันจะพาพี่ ๆ ไปทำความรู้จักกับโรคในข้าวโพดช่วงฤดูฝนกันครับ!
◾️โรคใบไหม้แผลเล็ก
ใบมีจุดเล็กสีเขียวอ่อนฉ่ำน้ำ และแผลขยายตามเส้นใบ กลางแผลมีสีเทาขอบแผลมีสีเทาถึงน้ำตาล ขนาดแผลไม่แน่นอน
◾️โรคราน้ำค้าง หรือโรคใบลาย
ต้นกล้ามีจุดสีขาวหรือเหลืองบนใบ พบลายทางสีขาว เขียวอ่อน หรือเหลืองอ่อนจากโคนถึงปลายใบ มีผงสีขาวบนผิวใบช่วงเช้ามืด
◾️โรคฝัก ต้น และเมล็ดเน่า
ฝักจะเริ่มมีสีซีด มีจุดดำหรือดำทั้งเมล็ด ถ้าโรคเข้าทำลายหลังออกไหม 3 สัปดาห์จะมี ใยเชื้อราอยู่ในร่องเมล็ดโดยจะสังเกตได้เมื่อฉีกเปลือกฝักออกมาดู
◾️โรคฝัก-เมล็ดเน่าจากเชื้อรา
ฝักมีสีซีด เหลืองเฉา มีรอยเส้นใยเชื้อราเจริญบนเมล็ด
◾️โรคกาบและใบไหม้
ต้นกล้าเน่าหักล้มทั้งที่ส่วนยอดยังเขียว ใบและกาบใบพบแผลฉ่ำน้ำ มีสีซีดจางหรือสีฟางข้าวขยายตามทางยาวของใบ ลำต้นแผลเป็นสีน้ำตาลเข้มถึงดำ บางครั้งเป็นสะเก็ดสีน้ำตาล โคนต้นมีรอยฉ่ำน้ำสีเขียวอมเทา อาจมีเส้นใยเชื้อราสีขาวเจริญปกคลุมบริเวณราก
◾️โรคโคนเน่า
ใบไหม้จากปลายมาโคนใบ ยอดข้าวโพดสีซีดเหี่ยวเฉา แล้วจะไหม้ลามเป็นยอดเน่า ข้อที่อยู่เหนือดินมีรอยช้ำสีน้ำตาล เมื่อผ่าต้นดูท่อลำเลียงน้ำและอาหารจะเป็นสีน้ำตาล ต่อมาจะย่อยสลายเป็นเมือก มีกลิ่นเหม็น
ที่มา : เฝ้าระวังโรคข้าวโพดในหน้าฝน กองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย
สอบถามราคาสถานที่จัดจำหน่าย และ ติดตามราคาพืชผลก่อนใครทาง LINE คลิกเลย! https://lin.ee/rNYeQyq
#ปุ๋ยตรามงกุฎ #ปุ๋ยขยันทำงานทุกเม็ด #ปุ๋ยขยันเต็มแรง #นิยมทั่วไทย #ปุ๋ยข้าวโพด #ปลูกข้าวโพด #ข้าวโพด #เครื่องหยอดข้าวโพด #ข้าวโพดหวาน #ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ #พันธุ์ข้าวโพด #โรคในข้าวโพด #โรคในข้าวโพดช่วงฤดูฝน