อากาศร้อน-ฝนฟ้าคะนองแบบนี้  พี่น้องต้องระวัง!! โรคใบไหม้ ในปาล์มน้ำมัน ระยะต้นกล้า มาดูวิธีจัดการกัน!

อากาศร้อน-ฝนฟ้าคะนองแบบนี้ พี่น้องต้องระวัง!! โรคใบไหม้ ในปาล์มน้ำมัน ระยะต้นกล้า มาดูวิธีจัดการกัน!


อากาศร้อน-ฝนฟ้าคะนองแบบนี้ พี่น้องเกษตรกรต้องระวัง!! โรคใบไหม้ ในปาล์มน้ำมัน ตั้งแต่ระยะต้นกล้า - ระยะ 1 ปีแรกหลังปลูก... ถ้าพี่ ๆ ไม่อยากให้ต้นปาล์มเสียหาย ปลูกไปไม่ได้ผลผลิต รีบมาป้องกันและจัดการด้วยวิธีนี้กันดีกว่า!! 

#เชื้อสาเหตุ

เกิดจากเชื้อรา Curvularia sp. ซึ่งเกิดได้ง่ายในสภาพอากาศที่ร้อนกับมีฝนตก โดยพบการระบาดสูงในระยะต้นกล้าและช่วง 1 ปีแรกหลังลงแปลงปลูก 

#อาการที่พบ 

มักพบอาการของโรคบนใบอ่อนซึ่งส่วนมากจะเป็นช่วงที่ใบเริ่มคลี่ เริ่มแรกจะเกิดจุดเล็ก ๆ สีเหลืองกระจายทั่วใบ ต่อมาแผลขยายใหญ่เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลดำ ลักษณะบุ๋มขอบแผลนูนและมีวงสีเหลืองล้อมรอบ หากโรคระบาดรุนแรงแผลจะขยายรวมกัน ทำให้ใบไหม้แห้ง ม้วนงอ เปราะ ฉีกขาดง่าย ส่งผลให้ต้นกล้าชะงักการเจริญเติบโต ถ้าอาการของโรครุนแรงมากอาจทำให้ใบใหม่และต้นกล้าตายได้

#แนวทางป้องกัน/ แก้ไข

  1. ใส่ปุ๋ยบำรุงให้ต้นกล้าแข็งแรง
  2. ในต้นที่พบการระบาดเล็กน้อยให้เผาทำลายส่วนใบที่เป็นโรคนอกแปลงปลูก หรือหากพบการระบาดทั้งต้นให้ขุด หรือถอนต้นเผาทำลายนอกแปลงปลูก
  3. หากโรคระบาดรุนแรง ให้ฉีดพ่นด้วยสารป้องกัน ที่ไม่มีสารทองแดงเป็นองค์ประกอบ เช่น พ่นด้วยสาร แมนโคเซบ 80% WP อัตรา 30 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ไทแรม 80% WG อัตรา 30 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ แคปแทน 50% WP อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ทุก ๆ 7 วันโดยเฉพาะช่วงที่มีการระบาด

 

***ไม่ควรพ่นสารชนิดเดียวต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน ควรสลับชนิดสาร เพื่อป้องกันการต้านทานของเชื้อสาเหตุโรคและงดการให้น้ำด้วยระบบพ่นฝอย

 

ที่มา : เตือนภัยการผลิตพืช กรมวิชาการเกษตร และคู่มือป้องกันกำจัดศัตรูปาล์มน้ำมันโดยวิธีผสมผสาน กลุ่มวิจัยวัชพืช กรมวิชาการเกษตร

 

สอบถามราคาสถานที่จัดจำหน่าย และ ติดตามราคาพืชผลก่อนใครทาง LINE คลิกเลย! https://lin.ee/rNYeQyq

 

#ปุ๋ยตรามงกุฎ #ปุ๋ยขยันเต็มแรง #ปุ๋ยขยันทำงานทุกเม็ด #นิยมทั่วไทย #ปาล์ม #ปาล์มน้ำมัน #พันธุ์ปาล์ม #ปุ๋ยปาล์ม #สูตรผสมปุ๋ยปาล์มน้ำมัน #ตารางการใส่ปุ๋ยปาล์ม #สูตรปุ๋ยปาล์ม #สูตรปุ๋ยปาล์มน้ำมัน #สูตรใส่ปุ๋ยปาล์ม #ใส่ปุ๋ยปาล์ม #ปุ๋ยใส่ปาล์ม #การใส่ปุ๋ยปาล์มน้ำมัน #การปลูกปาล์มน้ำมัน