รู้ทัน! อาการขาดธาตุอาหาร ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

ดูช้างให้ดูที่หาง ดูนางให้ดูที่แม่ ส่วนข้าวโพดจะดีหรือแย่ แค่ดูที่ใบก็วินิจฉัยได้แล้วนะครับ ว่าตอนนี้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของเรากำลังขาดธาตุอาหารอะไรอยู่… ว่าแล้วเรามาทำความรู้จัก “อาการขาดธาตุอาหารในข้าวโพดเลี้ยงสัตว์” พร้อม “วิธีเลือกใช้ปุ๋ยสูตรเด็ด” แก้ปัญหาอาการขาดธาตุอาหารกันดีกว่า พร้อมแล้วตามมาดูกันเลยครับ!
#อาการขาดธาตุอาหารของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่แสดงออกทางใบ
ข้าวโพดที่สมบูรณ์ แข็งแรง
- ใบมันวาว สีเขียวเข้ม ดูสมบูรณ์
อาการขาดธาตุ ไนโตรเจน(N)
- ข้าวโพดระยะต้นอ่อนหากขาดไนโตรเจน ใบล่างจะเป็นสีเหลืองคล้ายกับอาการขาดน้ำ แต่ไม่เหี่ยว ส่งผลให้การเจริญเติบโตชะงัก หากขาดไนโตรเจนในระยะที่อยู่ในช่วงที่มีการเจริญเติบโตเต็มที่จะแสดงอาการได้ชัดเจนมาก โดยใบแก่หรือใบล่างจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองเป็นรูปตัววี (V) เริ่มจากปลายใบเข้าสู่ส่วนแกนกลางของใบและลุกลามขึ้นสู่ใบบน
อาการขาดธาตุ ฟอสฟอรัส(P)
- ระยะต้นกล้า ใบจะมีสีม่วงจากปลายใบและขอบใบของใบล่าง ทำให้ต้นเติบโตช้า ต้นเตี้ย และไม่แข็งแรง รากไม่เจริญหรือไม่พัฒนา หากขาดธาตุฟอสฟอรัสก่อนออกดอกจะทำให้ออกดอกช้ากว่าปกติ ลำต้นและฝักโค้งงอ เมล็ดบิดเบี้ยว การติดเมล็ดไม่สมบูรณ์ หรือมีเมล็ดลีบมาก
อาการขาดธาตุ โพแทสเซียม(K)
- ข้าวโพดจะมีลักษณะเตี้ย แคระแกร็น ปล้องสั้น เติบโตช้า เพราะเนื้อเยื่อที่อยู่บริเวณปล้องไม่เจริญ เนื้อเยื่อของผนังเซลล์ไม่แข็งแรง ลำต้นอ่อนแอหักล้มง่าย ใบแก่ขอบใบจะมีสีเหลืองซีดโดยเริ่มจากปลายใบลุกลามเข้าสู่เส้นกลางใบ หากมีอาการรุนแรงขอบใบจะแห้งมีสีน้ำตาลไหม้บริเวณปลายใบ ปลายฝักเรียว เมล็ดมีอาการเหี่ยวย่นหรือบิดเบี้ยว
อาการขาดธาตุ แมกนีเซียม(Mg)
- เกิดในใบแก่ก่อน เกิดอาการซีดในพื้นที่ใบที่อยู่ระหว่างเส้นใบ ในขณะที่เส้นใบยังคงเขียวอยู่ อาการซีดจะเกิดที่บริเวณใกล้เส้นกลางใบก่อนแล้วลามไปที่ปลายใบ และใบร่วงหล่นเร็ว ทำให้ผลผลิตลดน้อยลง และต้นข้าวโพดทรุดโทรมอย่างเห็นได้ชัด
อาการขาดน้ำ (H₂O)
- ใบจะมีสีเทาอมเขียว และใบจะม้วนบิดเป็นเกลียว
- อาการขาดน้ำมีผลให้การเติบโตของข้าวโพดลดลง ทำให้ปากใบปิด ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ที่จะได้รับลดลง อัตราการสังเคราะห์แสงลดลง การเคลื่อนย้ายสิ่งที่ได้จากการสังเคราะห์แสงก็ลดลง ทำให้การใช้น้ำตาลและแป้งเพื่อเปลี่ยนเป็นโปรตีนลดน้อยลง
#วิธีการป้องกันอาการขาดธาตุอาหาร
วิธีการปรับปรุงดินก่อนการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
- ดินมีอินทรียวัตถุต่ำ หรือ ดินร่วนปนทราย ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ อัตรา 700 กิโลกรัม/ไร่ หว่านให้ทั่วพื้นที่ แล้วไถกลบก่อนปลูก
- ดินที่มีค่าความเป็นกรด-ด่าง น้อยกว่า 5.5 ควรปรับปรุงดินด้วยโดโลไมท์ อัตรา 100 กิโลกรัม/ไร่ โดยหว่านให้ทั่วแปลงก่อนไถเตรียมดิน
- ดินที่มีความเป็นกรด-ด่าง มากกว่า 7.5 ควรเลือกใช้ปุ๋ย 21-0-0 เป็นแหล่งของไนโตรเจน
วิธีการใส่ปุ๋ยข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ควรแบ่งใส่ 2 ครั้ง
ครั้งที่ 1 ใส่ปุ๋ยรองพื้นพร้อมปลูก ให้มีธาตุอาหารไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม ครบทั้ง 3 ธาตุ เช่น ปุ๋ยมงกุฎสูตร 18-8-8, 16-20-0 และ 15-15-15 ทับทิม อัตรา 25 กิโลกรัม/ไร่
ครั้งที่ 2 เมื่อข้าวโพดอายุ 3-4 สัปดาห์หลังปลูก และดินมีความชื้นเหมาะสม ใส่ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) และปุ๋ยโพแทสเซียมคลอไรด์ (0-0-60) ข้างแถวปลูกแล้วพรวนกลบ 25-50 กิโลกรัม/ไร่
ที่มา : เอกสารวิชาการ คำแนะนำการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน สำหรับพืชไร่เศรษฐกิจ. กองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 2564
สอบถามราคาสถานที่จัดจำหน่าย และ ติดตามราคาพืชผลก่อนใครทาง LINE คลิกเลย! https://lin.ee/rNYeQyq
#ปุ๋ยตรามงกุฎ #ปุ๋ยขยันทำงานทุกเม็ด #ปุ๋ยขยันเต็มแรง #นิยมทั่วไทย #ปุ๋ยข้าวโพด #ปลูกข้าวโพด #ข้าวโพด #เครื่องหยอดข้าวโพด #ข้าวโพดหวาน #ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ #พันธุ์ข้าวโพด #อาการขาดธาตุอาหารของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์