ธาตุอาหารพืชที่สำคัญ ใน… ปาล์มน้ำมัน

พี่น้องชาวสวนปาล์มทุกท่าน มารวมกันตรงนี้!!
วันนี้ปุ๋ยขยันจะพาพี่ ๆ ไปรู้จักกับ “ธาตุอาหารพืชที่สำคัญ ในปาล์มน้ำมัน” ที่บอกเลยว่า ไม่รู้จักไม่ได้แล้ววว
เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา เราไปดูกันเลยดีกว่าครับ ว่ามีธาตุอะไรบ้าง แล้วสำคัญแค่ไหน พร้อมแล้วตามมาดูกันเลยครับ!!

ธาตุไนโตรเจน[N] ฟอสฟอรัส[P] และโพแทสเซียม[K] กับปาล์มน้ำมัน
◾️ หากขาดไนโตรเจน(N) จะทำให้ต้นปาล์มน้ำมันชะงักการเจริญเติบโต ใบแก่มีสีเขียวซีด-เหลือง ถ้าอาการขาดรุนแรงใบปาล์มแห้ง (Necrosis) โดยเริ่มจากปลายใบและขอบใบย่อย ก้านทางใบจะมีสีเหลืองส้มตั้งแต่ปลายใบถึงหนามโคนทาง ก้านใบย่อยมีสีเหลืองส้ม หนามที่โคนทางใบจะแคบและม้วนงอ อาการเหล่านี้จะเกิดและกระจายไปทั่วทางใบ และแสดงอาการที่ใบแก่ก่อน
◾️ หากขาดฟอสฟอรัส(P) จะทำให้อัตราการเจริญเติบโตต่ำ ทางใบสั้นลง ลำต้นเล็ก และขนาดของทะลายเล็ก อาการขาดธาตุฟอสฟอรัสในใบปาล์มน้ำมันมักแสดงออกไม่ชัดเจนแต่สังเกตได้จากทางใบสั้นลง ใบปาล์มมีสีเขียวซีดเหลือบม่วง ขนาดของลำต้นและทะลายเล็กลง ถ้าขาดติดต่อกันนาน ๆ ทรงพุ่มจะมีลักษณะคล้ายพีระมิด
◾️ โพแทสเซียม(K) เป็นธาตุอาหารที่ปาล์มน้ำมันต้องการมากที่สุด ช่วยให้ปาล์มน้ำมันทนทานต่อความแห้งแล้งและต้านทานโรค การได้รับโพแทสเซียมปริมาณเหมาะสม จะช่วยเพิ่มขนาดและจำนวนทะลายปาล์ม ส่งผลให้ปาล์มน้ำมันมีผลผลิตสูง โดยปาล์มน้ำมันที่ให้ผลผลิตแล้ว อาการขาดโพแทสเซียมจะแสดงดังนี้
- จุดแผลสีส้ม หากรุนแรงมากจะรวมกันเป็นแผลใหญ่ตรงกลางมีสีน้ำตาล ปลายทางใบเริ่มแห้ง เริ่มจากปลายใบย่อย ใบเปราะหัก ขอบใบแห้งกรอบและแตกเป็นฝอย
- ใบสีเหลืองกลางทรงพุ่ม ใบย่อยตั้งแต่ส่วนล่าง ถึงกลางทรงพุ่มมีสีซีดลงและเปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือเหลืองส้ม จากนั้นขอบใบจะแห้ง กรณีรุนแรงทางใบจะแตกและแห้งตายไป
- ตุ่มแผลสีส้ม อาการเริ่มจากสีเขียวมะกอกในใบย่อยของทางใบแก่ จากนั้นจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองสดหรือสีส้ม จนกระทั่ง เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ก่อนที่จะแห้งและตายไป
- แถบใบขาว มักพบตรงส่วนกลางใบย่อยของใบกลาง ปาล์มน้ำมันอายุ 3-6 ปี เกิดจากสัดส่วนของไนโตรเจนต่อโพแทสเซียมในใบไม่สมดุล หรือการ ขาดโบรอนร่วม
ป้องกันการขาดธาตุไนโตรเจน[N] ฟอสฟอรัส[P] และโพแทสเซียม[K] ด้วยปุ๋ยตรามงกุฎ แบบนี้
◾️ ปีที่ 1
- แนะนำสูตร 18-8-8 หรือ 15-15-15 ทับทิม อัตราใส่ 1.5 กก./ต้น/ปี
- แบ่งใส่ 4-5 ครั้ง
◾️ ปีที่ 2-3
- แนะนำสูตร 15-15-15 ทับทิม อัตราใส่ 3.5-5.5 กก./ต้น/ปี
- แบ่งใส่ 3 ครั้ง/ปี ในช่วงต้นฝน กลางฝน และปลายฝน
◾️ อายุ 3 ปี ขึ้นไป หรือให้ผลผลิตแล้ว
- แนะนำสูตร 14-7-35 อัตราใส่ 6.5-9 กก./ต้น/ปี ร่วมกับสูตร 0-0-60 อัตราใส่ 1 กก./ต้น/ปี และ 21-0-0 อัตราใส่ 1-1.5 กก./ต้น/ปี
- แบ่งใส่ 2 ครั้ง/ปี ในช่วงต้นฝนและปลายฝน
หมายเหตุ : อัตราใส่สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามค่าวิเคราะห์ดิน อายุปาล์ม ปริมาณการติดผล ความชื้นในดิน

ธาตุแมกนีเซียม(Mg) กับปาล์มน้ำมัน
- แมกนีเซียม เป็นส่วนประกอบของเม็ดสีเขียวหรือคลอโรฟิลล์ ทำหน้าที่เปลี่ยนแปลงพลังงานแสงมาเป็นพลังงานชีวเคมีในขบวนการสังเคราะห์แสง นอกจากนี้แมกนีเซียมยังเป็นส่วนประกอบที่จำเป็นสำหรับเอนไซม์ที่กระตุ้นการสังเคราะห์คลอโรฟิลล์
- อาการขาดแมกนีเซียมมักพบในปาล์มน้ำมันที่ปลูกในดินทรายและดินกรด หรือดินทรายและดินกรดที่หน้าดินถูกชะล้าง อาการขาดพบที่ใบย่อยของทางใบล่างจะมีสีเขียวซีดและเปลี่ยนเป็นสีเหลือง-ส้ม มักเรียกอาการนี้ว่า “ทางใบส้ม” หากขาดอาการรุนแรงต้นปาล์มจะแห้งตายในที่สุด
ป้องกันการขาดแมกนีเซียม(Mg) ด้วยธาตุอาหารรองตรามงกุฎ
◾️ ปีที่ 1
- เสริมด้วยธาตุอาหารรอง ตรามงกุฎ แมกนีเซียมซัลเฟต (คีเซอร์ไรท์) อัตราใส่ 200 กรัม/ต้น/ปี
- แบ่งใส่ 2 ครั้ง/ปี ในช่วงต้นฝน และปลายฝน
◾️ ปีที่ 2-3
- เสริมด้วยธาตุอาหารรอง ตรามงกุฎ แมกนีเซียมซัลเฟต (คีเซอร์ไรท์) อัตราใส่ 400-800 กรัม/ต้น/ปี
- แบ่งใส่ 2 ครั้ง/ปี ในช่วงต้นฝน และปลายฝน
◾️ อายุ 3 ปี ขึ้นไป หรือให้ผลผลิตแล้ว
- เสริมด้วยธาตุอาหารรอง ตรามงกุฎ แมกนีเซียมซัลเฟต (คีเซอร์ไรท์) อัตราใส่ 1 กก./ต้น/ปี
- แบ่งใส่ 2 ครั้ง/ปี ในช่วงต้นฝนและปลายฝน

ธาตุโบรอน(B) กับปาล์มน้ำมัน
- โบรอน เป็นธาตุอาหารที่จำเป็นสำหรับการยืดตัวของราก การสังเคราะห์กรดนิวคลีอิก การสร้างผนังเซลล์ การพัฒนาของเนื้อเยื่อ ความแข็งแรงของผนังเซลล์ การสร้างคาร์โบไฮเดรตและโปรตีน การงอกของละอองเกสรตัวผู้หรือการเจริญของหลอดเกสรตัวผู้
- อาการขาดโบรอนมักแสดงดังนี้ ใบอ่อน ปลายใบเป็นรูปตะขอ ใบหยักเป็นคลื่น ใบที่แสดงอาการขาดโบรอนมักมีสีเขียวเข้ม เปราะ เมื่อเริ่มขาดโบรอนใบอ่อนจะสั้นลง ใบย่อยแคบลง ทำให้ทรงพุ่มของปาล์มน้ำมันมีลักษณะเรือนยอดแบนเรียบ
- นอกจากนี้การขาดโบรอนอาจเกิดจากการใส่ปุ๋ยไนโตรเจน โพแทสเซียมและแคลเซียมมากเกินไป หรือปริมาณความต้องการโบรอนเพิ่มขึ้นจากการผสมเกสรติด
ป้องกันการขาดโบรอน(B) ด้วยธาตุอาหารเสริม ตรามงกุฎ
◾️ ปีที่ 2-3
- เสริมด้วยธาตุอาหารเสริม ตรามงกุฎ โบรอน อัตราใส่ 35-75 กรัม/ต้น/ปี
- ใส่ในช่วงต้นฝน
◾️ อายุ 3 ปี ขึ้นไป หรือให้ผลผลิตแล้ว
- เสริมด้วยธาตุอาหารเสริม ตรามงกุฎ โบรอน อัตราใส่ 150 กรัม/ต้น/ปี
- ใส่ในช่วงต้นฝน
หมายเหตุ : อัตราใส่สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามค่าวิเคราะห์ดิน อายุปาล์ม ปริมาณการติดผล ความชื้นในดิน
สอบถามราคาสถานที่จัดจำหน่าย และ ติดตามราคาพืชผลก่อนใครทาง LINE คลิกเลย! https://lin.ee/rNYeQyq
#ปุ๋ยตรามงกุฎ #ปุ๋ยขยันเต็มแรง #ปุ๋ยขยันทำงานทุกเม็ด #นิยมทั่วไทย #ปาล์ม #ปาล์มน้ำมัน #พันธุ์ปาล์ม #ปุ๋ยปาล์ม #สูตรผสมปุ๋ยปาล์มน้ำมัน #ตารางการใส่ปุ๋ยปาล์ม #สูตรปุ๋ยปาล์ม #สูตรปุ๋ยปาล์มน้ำมัน #สูตรใส่ปุ๋ยปาล์ม #ใส่ปุ๋ยปาล์ม #ปุ๋ยใส่ปาล์ม #การใส่ปุ๋ยปาล์มน้ำมัน #การปลูกปาล์มน้ำมัน #ธาตุอาหารที่สำคัญในปาล์มน้ำมัน