ร้อนนี้ระวัง! โรคราน้ำค้างในข้าวโพด มารู้ทัน ป้องกันให้อยู่หมัด!!
.jpg)
น้องปุ๋ยขยันขอแชร์!! ช่วงนี้อากาศร้อน ฟ้าหลัวตอนกลางวัน ทั้งยังมีฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง พี่น้องเกษตรกรเฝ้าระวัง #โรคราน้ำค้าง บุกเข้าทำลายข้าวโพด ในระยะเริ่มปลูกถึง 1 เดือน กันด้วยนะครับ
และเพื่อไม่ให้พี่น้องเกษตรกรต้องเสี่ยงผลผลิตเสียหาย กำไรหด น้องปุ๋ยขยันมีวิธีรับมือโรคราน้ำค้างในข้าวโพดมาฝาก ถ้าอยากรู้แล้วว่าต้องจัดการยังไง ตามมาดูกันเลยครับ!!
#สาเหตุ
- เกิดจากเชื้อรา Peronosclerospora sorghi
#ลักษณะอาการราน้ำค้างในข้าวโพด
- เกิดได้ตั้งแต่ข้าวโพดเริ่มงอก โดยพบจุดเล็ก ๆ สีเขียวฉ่ำน้ำบนใบอ่อน ต่อมาใบข้าวโพดมีสีเหลืองซีดโดยเฉพาะบริเวณยอดหรือใบลายเป็นทางสีเขียวอ่อนสลับเขียวแก่ ในเวลาเช้าที่มีอากาศค่อนข้างเย็นและความชื้นสูง มักพบส่วนของเชื้อรา ลักษณะเป็นผงสีขาวจำนวนมากบริเวณใต้ใบ บางครั้งพบยอดข้าวโพดแตกเป็นพุ่ม ต้นแคระแกร็น เตี้ย ข้อถี่ ไม่มีฝักหรือมีฝักขนาดเล็ก มีฝักที่ติดเมล็ดน้อยหรือไม่ติดเมล็ดเลย ก้านฝักมีความยาวมากหรือมีจำนวนฝักมากกว่าปกติ แต่จะไม่สมบูรณ์ โดยข้าวโพดในระยะเริ่มปลูกถึงอายุประมาณ 1 เดือนจะอ่อนแอต่อโรคราน้ำค้างมากที่สุด
#แนวทางป้องกัน/แก้ไข
- ใช้พันธุ์ต้านทานโรคราน้ำค้าง
- คลุกเมล็ดพันธุ์ก่อนปลูกด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช เมทาแลกซิล 35% DS อัตรา 7-10 กรัมต่อเมล็ด 1 กิโลกรัม หรือเมทาแลกซิล-เอ็ม 35% ES อัตรา 3.5 มิลลิลิตรต่อเมล็ด 1 กิโลกรัม หรือไดเมโทมอร์ฟ 50% WP อัตรา 30 กรัมต่อเมล็ด 1 กิโลกรัม
- แหล่งที่เคยพบการระบาดหากพบว่ามีสภาพแวดล้อมเหมาะสมต่อการเกิดโรค คืออุณหภูมิต่ำและความชื้นสูง เมื่อข้าวโพดอายุ 5-7 วัน ควรพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืช ไดเมโทมอร์ฟ 50% WP อัตรา 20-30 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือเมทาแลกซิล 25% WP อัตรา 30-40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ทุก 7 วัน จำนวน 3-4 ครั้ง
- ถอนต้นที่แสดงอาการของโรคนำไปทำลายนอกแปลงปลูก
- พื้นที่ที่มีการระบาดของโรคเป็นประจำควรปลูกพืชชนิดอื่นหมุนเวียนเพื่อเป็นการตัดวงจรการระบาดของโรค
#พื้นที่เสี่ยงที่จะเกิดโรคราน้ำค้าง
- ข้าวโพดที่ปลูกปลายฤดูฝน
- ข้าวโพดที่ปลูกฤดูแล้งหลังนา สภาพที่มีฝนตก อากาศเย็น
- เป็นแหล่งที่เคยมีการระบาด ฤดูที่ผ่านมามีโรคราน้ำค้างระบาด ในฤดูปลูกปัจจุบัน มีข้าวโพดแปลงข้างเคียงเกิดโรคราน้ำค้าง และต้องมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม เช่น ฝนตกชุก ความชื้นสูง อากาศเย็น
- สำหรับพื้นที่ที่การระบาดไม่รุนแรง เน้นการป้องกันโรคด้วยการคลุกเมล็ด ร่วมกับการจัดการอื่น ๆ เช่น ถอนทำลายต้นเป็นโรคออกไปทำลาย หรือปลูกพืชหมุนเวียน
ข้อควรคำนึง : สำหรับข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ซึ่งมีพื้นที่ปลูกเป็นบริเวณกว้าง เน้นการป้องกันกำจัดโดยวิธีคลุกเมล็ด การพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืชหลังจากข้าวโพด อายุ 20 วันขึ้นไปจะไม่สามารถป้องกันกำจัดโรคนี้ได้
ที่มา : เตือนภัยการผลิตพืช กรมวิชาการเกษตร, ศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์
สอบถามราคาสถานที่จัดจำหน่าย และ ติดตามราคาพืชผลก่อนใครทาง LINE คลิกเลย! https://lin.ee/rNYeQyq
#ปุ๋ยตรามงกุฎ #ปุ๋ยขยันทำงานทุกเม็ด #ปุ๋ยขยันเต็มแรง #นิยมทั่วไทย #ปุ๋ยข้าวโพด #ปลูกข้าวโพด #ข้าวโพด #เครื่องหยอดข้าวโพด #ข้าวโพดหวาน #ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ #พันธุ์ข้าวโพด