ประกาศ ๆ พี่น้องชาวไร่อ้อยโปรดฟังทางนี้
ช่วงนี้อากาศร้อน + มีฝน ใครที่กำลังปลูกอ้อย ในระยะแตกกอ หรือปลูกใหม่ ระวัง “แมลงนูนหลวง” บุกเข้าทำลายอ้อยกันด้วยนะครับ เพราะเพียงแค่หนึ่งตัวต่อกอ ก็ทำให้อ้อยกอนั้นตายไปทั้งกอได้เลย หรือถ้าไม่ตายก็ทำให้ผลผลิตของอ้อยลดลงจนเก็บผลผลิตไม่ได้
เพื่อไม่ให้วันนั้นมาถึง… วันนี้น้องปุ๋ยขยันจึงมีเคล็ดลับการป้องกันและจัดการ “แมลงนูนหลวง” มาฝากครับ ถ้าอยากรู้แล้วว่าต้องจัดการยังไง ตามมาดูเลยครับ!!
#แมลงนูนหลวง (Lepidiota stigma Fabricius)
เป็นด้วงปีกแข็งที่มีขนาดตัวโต และมีสีต่างกัน ตั้งแต่สีขาว สีน้ำตาลอ่อนและสีน้ำตาลแดง โดยปกติตัวผู้มีสีเข้มกว่าตัวเมีย และมีขนาดเล็กกว่าตัวเมียเล็กน้อย ตัวเมียตัวหนึ่งวางไข่ได้ประมาณ 12-16 ฟอง ระยะไข่ 15-20 วัน เมื่อฟักออกเป็นตัวหนอนแล้วจะอาศัยอยู่ในดินกินรากอ้อย ตัวหนอนรูปร่างโค้งงอ ปลายท้องมีลักษณะเป็นถุง หัวสีน้ำตาลแดง มีฟันกัดที่แข็งแรงมาก จะกัดกินรากอ้อยได้มากขึ้นตามขนาดตัวหนอนที่โตขึ้น ระยะหนอนนาน 8-9 เดือนจึงโตเต็มที่ ระยะดักแด้นานประมาณ 2 เดือน จึงจะออกมาเป็นตัวเต็มวัย อายุตัวเต็มวัย 30-40 วัน มีเพียง 1 ชั่วอายุขัยต่อปี แมลงนูนหลวงจะออกเป็นตัวเต็มวัยปีละครั้งในช่วงต้นฤดูฝน
#พืชอาหาร
อ้อย มันสำปะหลัง ยูคาลิปตัส มันแกว ปาล์มน้ำมัน ยางพารา และตะไคร้
#ลักษณะอาการ
อาการเริ่มแรก คล้ายอ้อยขาดน้ำเนื่องมาจากความแห้งแล้ง ใบอ้อยมีสีเหลือง ต่อมาใบอ้อยจะแห้งตายมากผิดปกติ ในที่สุดอ้อยจะแห้งตายไปทั้งกอ กออ้อยที่ถูกหนอนเข้าทำลายจะดึงออกมาจากพื้นดิน ได้ง่าย เนื่องจากรากอ้อยถูกทำลายหมด ซึ่งตัวหนอนของแมลงนูนหลวงจะกัดกินรากอ้อยเป็นอาหาร โดยการเข้าทำลายอ้อยจะปรากฏเป็นหย่อม ไม่แพร่กระจายไปทั้งไร่ พื้นที่ใดเป็นที่ค่อนข้างลุ่มเมื่อฝนตกมีน้ำขัง แมลงนูนหลวงจะเข้าทำลายน้อย แต่ถ้าอ้อยปลูกในที่ดอน อ้อยจะถูกทำลายมาก อ้อยกอใดที่ถูกหนอนของแมลงนูนหลวงเข้าทำลาย เพียงหนึ่งตัวต่อกอจะทำให้อ้อยกอนั้นตายไปทั้งกอ หรือถ้าไม่ตายจะทำให้ผลผลิตของอ้อยลดลงจนเก็บผลผลิตไม่ได้
ลักษณะต้นอ้อยถูกทำลายด้วยแมลงนูนหลวง ลักษณะกออ้อยที่ถูกแมลงนูนหลวงกัดกินทำลายราก
#แนวทางการป้องกันและกำจัด
เนื่องจากแมลงนูนหลวงออกเป็นตัวเต็มวัยปีละครั้ง วิธีการที่ดีที่สุดในการป้องกันกำจัด คือ “การเก็บตัวเต็มวัยมาทำลายก่อนที่ตัวเต็มวัยจะไปวางไข่” โดยเริ่มจับเมื่อฝนตกครั้งที่ 2 เมื่อตัวเต็มวัยเริ่มออกมาให้จับตัวเต็มวัยโดยการใช้ไม้ตีตามกิ่งไม้หรือเขย่าต้นให้ตัวเต็มวัยตกลงมาในขณะผสมพันธุ์ ใช้เวลาจับประมาณ 30 นาที เริ่มจากเวลา 18.30-19.00 น. และจับต่อเนื่องกันประมาณ 15-20 วัน หรือเวลาพลบค่ำเดินในแปลงจะพบดินเริ่มแตกแยกเหมือนกับจะมีเมล็ดพืชออกมา นั่นคือแมลงนูนเริ่มจะขุดออกมาจากดิน เดินในแปลงและขุดดินบริเวณที่มีรอยแตกจะได้แมลงนูนปริมาณมาก วิธีนี้จะเป็นการช่วยลดประชากรของแมลงนูนหลวงได้มาก
ทำการป้องกันกำจัดด้วยวิธีผสมผสาน ได้แก่
ขอบคุณข้อมูลจาก :
- http://rakbankerd.com/agriculture/print.php?id=1823&s=tblplant
- https://www.moac.go.th/warning-files-412991791287
- https://www.opsmoac.go.th/singburi-local_wisdom-files-411091791792
สอบถามราคาสถานที่จัดจำหน่าย และ ติดตามราคาพืชผลก่อนใครทาง LINE คลิกเลย! https://lin.ee/rNYeQyq
#ปุ๋ยตรามงกุฎ #ปุ๋ยขยันเต็มแรง #ปุ๋ยขยันทำงานทุกเม็ด #นิยมทั่วไทย #การปลูกอ้อย #ปลูกอ้อย #พันธุ์อ้อย #เครื่องปลูกอ้อย #เครื่องตัดอ้อย #ปลูกอ้อยคั้นน้ำ #ปลูกอ้อยหลุม #ปุ๋ยอ้อย #ปุ๋ยใส่อ้อย #ปุ๋ยใส่อ้อยใช้สูตรอะไร #แมลงนูนหลวง