สภาพอากาศแปรปรวน  พี่น้องชาวสวนมังคุด-ทุเรียน ระวังเพลี้ยไฟบุก!!

สภาพอากาศแปรปรวน พี่น้องชาวสวนมังคุด-ทุเรียน ระวังเพลี้ยไฟบุก!!


ช่วงนี้สภาพอากาศแปรปรวน เดี๋ยวร้อน เดี๋ยวฝนฟ้าคะนอง สลับกับอากาศเย็นในตอนเช้า พี่น้องชาวสวนมังคุดและทุเรียน ระวังกันให้ดีนะครับ เพราะอาจโดน “เพลี้ยไฟ” บุกเข้าทำลายได้ 
 

เพื่อไม้ให้ผลผลิตของพี่น้องเกษตรกรเสียหาย น้องปุ๋ยขยันมีวิธีป้องกันและจัดการเพลี้ยไฟมาฝากด้วยล่ะครับ ถ้าพร้อมแล้วเรามาดูกันเลย!!
 

#เพลี้ยไฟในทุเรียน | ระยะแทงช่อดอก-พัฒนาผล
 

  • ลักษณะการเข้าทำลาย : ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดกินน้ำเลี้ยงจากส่วนต่าง ๆ ของพืช มีผลทำให้ใบอ่อนหรือยอดอ่อนชะงักการเจริญเติบโต แคระแกร็น ใบโค้ง แห้งหงิกงอ และไหม้ การทำลายในช่วงดอก ทำให้ดอกแห้ง ดอกและก้านดอกเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลแคระแกร็น และร่วงได้ และในช่วงผลอ่อน ทำให้ชะงักการเจริญเติบโต หนามเป็นแผลและเกิดอาการปลายหนามแห้ง ผลไม่สมบูรณ์และแคระแกร็น เพลี้ยไฟจะระบาดรุนแรงในช่วงแล้ง ระหว่างเดือนธันวาคม–พฤษภาคม ซึ่งตรงกับระยะที่ต้นทุเรียนออกดอกติดผล เพลี้ยไฟมีอาหารอย่างอุดมสมบูรณ์ สามารถเพิ่มปริมาณได้มาก

           
            ขอบคุณรูปภาพจาก : สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช, 2554

            ลักษณะอาการของทุเรียนที่ถูกเพลี้ยไฟทำลาย
 

  • แนวทางป้องกัน/แก้ไข
  1. สำรวจการระบาดของเพลี้ยไฟในระยะแตกใบอ่อน ดอก และผลอ่อน หากพบเพลี้ยไฟระบาดเล็กน้อยให้ตัดส่วนที่ถูกทำลายทิ้ง 
  2. เมื่อพบเพลี้ยไฟระบาดรุนแรง ใช้สารฆ่าแมลงที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัด เช่น อิมิดาโคลพริด 10% SL อัตรา 10 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ฟิโพรนิล 5% SC อัตรา 10 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นเมื่อพบเพลี้ยไฟเฉลี่ยมากกว่า 1 ตัวต่อยอด ช่อ หรือผล และไม่ควรใช้สารฆ่าแมลงชนิดใดชนิดหนึ่งซ้ำติดต่อกันหลายครั้ง เพราะทำให้เพลี้ยไฟสร้างความต้านทานได้

 

#เพลี้ยไฟในมังคุด | ระยะผลอ่อน-ดอกบาน
 

  • ลักษณะการเข้าทำลาย : ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยทำลายโดยการดูดน้ำเลี้ยงจากส่วนต่าง ๆ ของพืช ระยะออกดอกและติดผลอ่อน อาจทำให้ดอกและผลอ่อนร่วง ผลที่ไม่ร่วงเมื่อมีการพัฒนาผลโตขึ้น จะเห็นรอยทำลายชัดเจน เนื่องจากผิวเปลือกมังคุดมีลักษณะขรุขระที่เรียกว่า ผิวขี้กลาก ทำให้ผลผลิตมีคุณภาพต่ำ ระยะแตกยอดอ่อนและใบอ่อน ทำให้ชะงักการเจริญเติบโต แคระแกร็น หงิกงอ และใบไหม้ ต้นมังคุดขาดความสมบูรณ์ 

          

          ขอบคุณรูปภาพจาก : กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดตราด

          ลักษณะอาการของมังคุดที่ถูกเพลี้ยไฟทำลาย

 

  • แนวทางป้องกัน/ แก้ไข
  1. สำรวจการระบาดของเพลี้ยไฟบนใบอ่อน ดอก และผลอ่อน 
  2. สารฆ่าแมลงที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัด เช่น อิมิดาโคลพริด 70% WG อัตรา 3 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ อิมิดาโคลพริด 10% SL อัตรา 10 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ อะซีทามิพริด 20% SP อัตรา 4 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ สไปนีโทแรม 12% SC อัตรา 10 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ฟิโพรนิล 5% SC อัตรา 10 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นครั้งแรกก่อนดอกบาน 1 สัปดาห์ เมื่อตรวจพบเพลี้ยไฟเฉลี่ยมากกว่า 1 ตัวต่อดอก และพ่นซ้ำอีก 2 ครั้ง ขณะดอกบาน และหลังดอกบาน 1 สัปดาห์ เมื่อตรวจพบเพลี้ยไฟเฉลี่ย 0.25 ตัวต่อดอกหรือผล ควรพ่นสารฆ่าแมลงสลับกลุ่มกลไกการออกฤทธิ์ โดยปฏิบัติเช่นเดียวกับทุเรียน คือไม่ควรใช้สารฆ่าแมลงชนิดใดชนิดหนึ่งซ้ำติดต่อกันหลายครั้ง เพราะจะทำให้เพลี้ยไฟต้านทานต่อสารฆ่าแมลงได้
     

และนี่ก็คือแนวทางการจัดการกับเพลี้ยไฟในมังคุดและทุเรียน ที่น้องปุ๋ยขยันนำมาฝาก พี่ ๆ อย่าลืมนำไปปรับใช้กันนะครับ ผลผลิตของเราจะได้ไม่เสียหาย กำไรเหลือเต็มสวน!!

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : https://at.doa.go.th/ew/index.php
 

สอบถามราคาสถานที่จัดจำหน่าย และ ติดตามราคาพืชผลก่อนใครทาง LINE คลิกเลย! https://lin.ee/rNYeQyq
 

#ปุ๋ยตรามงกุฎ #ปุ๋ยขยันทำงานทุกเม็ด #ปุ๋ยขยันเต็มแรง #นิยมทั่วไทย #ปุ๋ยทุเรียน #วิธีปลูกทุเรียน #วิธีการปลูกทุเรียน #พันธุ์ทุเรียน #การใส่ปุ๋ยทุเรียน #การใส่ปุ๋ยทุเรียนช่วงติดผล #วิธีปลูกทุเรียนหมอนทองให้โตเร็ว #สูตรปุ๋ยเร่งต้นทุเรียน #วิธีปลูกทุเรียนให้รอด #ทุเรียนนกกระจิบ #ทุเรียนมูซังคิง #ทุเรียนก้านยาว #มังคุด #วิธีปลูกมังคุด #ปุ๋ยเร่งดอกมังคุด #วิธีการปลูกมังคุด #การใส่ปุ๋ยมังคุด #ขั้นตอนการใส่ปุ๋ยมังคุด #การใส่ปุ๋ยบำรุงลูกมังคุด #ปุ๋ยใส่มังคุด #ใส่ปุ๋ยมังคุด #ปุ๋ยมังคุด