ย่างเข้าสู่ฤดูแล้ง แดดลมแรงเป็นพิเศษแบบนี้… พี่ ๆ ชาวสวนยางต้องระมัดระวังเป็นพิเศษนะครับ เพราะเป็นช่วงที่ยางทิ้งใบ ปริมาณน้ำและความชื้นในดินมีน้อย ส่งผลให้ต้นยางแห้งตายได้ โดยเฉพาะยางพาราปลูกใหม่อายุไม่เกิน 3 ปี นอกจากนี้อากาศที่ร้อนมาก ๆ ส่งผลให้เกิดปัญหาไฟไหม้สวนยางตามมาได้อีกด้วย เพราะฉะนั้นเรามาเรียนรู้วิธีแก้ไขปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้กันดีกว่าครับ!!
#วิธีรักษาความชื้นดินก่อนเข้าหน้าแล้ง
การคลุมโคนต้นยางพารา
การคลุมโคนต้นยางพาราเป็นวิธีการที่จำเป็นต้องปฏิบัติต่อต้นยางอ่อนอายุ 1-3 ปี ก่อนเข้าฤดูแล้ง ซึ่งมีประโยชน์ต่อการปลูกสร้างสวนยางของเกษตรกร คือ
1. ช่วยเก็บรักษาความชื้นในดิน
2. ทำให้ต้นยางรอดตายสูงกว่าการไม่คลุมโคน
3. ช่วยให้ต้นยางเจริญเติบโตดีขึ้น
4. วัสดุที่ใช้คลุมโคนจะช่วยปรับปรุงโครงสร้างและความอุดมสมบูรณ์ของดิน
วัสดุที่เลือกใช้คลุมโคนต้นยาง
ควรเป็นวัสดุที่หาง่ายในท้องถิ่นและมีปริมาณมาก ต้นทุนต่ำ และมีประสิทธิภาพดี เช่น เศษซากวัชพืช หญ้าคา หรือฟางข้าว เป็นต้น
วิธีการคลุมโคนต้นยาง
ควรคลุมโคนก่อนเข้าหน้าแล้งประมาณ 1 เดือน ในขณะที่ดินยังมีความชื้นอยู่ สามารถทำได้ 2 วิธีคือ
ข้อควรระวัง การคลุมโคนต้นยางในหน้าแล้ง วัสดุอาจติดไฟได้ง่าย ควรระวังเหตุที่จะเกิดไฟไหม้ด้วย
การตัดแต่งกิ่งในช่วงแล้ง
ในช่วงแล้งต้นยางมักจะแตกกิ่งแขนงมากเกินไป ซึ่งจะทำให้เกิดทรงพุ่มที่หนัก ดังนั้นจึงควรตัดแต่งกิ่งแขนงออกบ้างให้เหลือไว้ประมาณ 2-3 กิ่ง ในทิศทางที่สมดุล การไว้กิ่งแขนงมากเกินไป จะทำให้ต้นยางต้านทานลมมาก ต้นยางโยกคลอนเป็นเหตุให้บริเวณโคนต้นเป็นหลุมรอบโคนต้น ซึ่งกระทบกระเทือนต่อรากแขนงได้
ข้อควรคำนึงในการตัดแต่งกิ่ง
#วิธีป้องกันปัญหาไฟไหม้สวนยางพารา
แนวทางปฏิบัติดูแลบำรุงรักษาสวนยางของตนเองหากประสบไฟไหม้ในช่วงหน้าแล้ง
- ถ้ากรณีเกิดไฟไหม้ไม่รุนแรง แนะนำให้ใช้ปูนขาวผสมน้ำ อัตราส่วน 1:1 ทิ้งไว้ 24 ชั่วโมง แล้วนำไปทารอบต้น ตั้งแต่โคนไปจนถึงระดับความสูง 1-1.5 เมตร โดยทาเฉพาะส่วนที่มีสีน้ำตาลไม่ต้องทาในส่วนต้นที่ยังสีเขียว เพื่อช่วยลดการคายน้ำทางลำต้น และป้องกันเชื้อโรคและแมลงที่จะเข้าทำลายภายหลังจากถูกไฟไหม้
- หยุดกรีดยางในสวนยางพาราที่ถูกไฟไหม้ เป็นเวลา 1 ปี เพื่อให้ต้นยางพาราฟื้นตัว อยู่ในสภาพปกติ และบำรุงต้นยางพาราด้วยการให้น้ำ ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ในอัตรา 100 กิโลกรัมต่อไร่ และใส่ปุ๋ยเคมีในอัตรา 1 กิโลกรัมต่อต้นต่อปี แบ่งใส่ 2 ครั้ง ๆ ละ 0.5 กิโลกรัมต่อต้น ในช่วงต้นและปลายฤดูฝน ต่อเนื่องกันทุกปี
อย่างไรก็ตาม ทางการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ยังมีสวัสดิการรองรับแก่เกษตรกรชาวสวนยางเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรกรณีสวนยางประสบภัย หากพี่น้องเกษตรกรชาวสวนยางท่านใดมีข้อสงสัยหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดต่อสอบถามหรือปรึกษาได้ที่การยางแห่งประเทศไทยทุกสาขาที่อยู่ใกล้บ้านเลยนะครับ
ขอบคุณข้อมูลจาก :
- ดูแลสวนยางช่วงหน้าแล้ง ง่ายๆ ไม่ยุ่งยาก ต้นยางปลอดภัย เกษตรกรไทยแฮปปี้ https://www.raot.co.th/ewt_news.php?nid=7586 สถาบันวิจัยยาง การยางแห่งประเทศไทย
- สวนยางหน้าแล้ง จัดการอย่างไร...? https://www.yangpalm.com/2018/01/blog-post_23.html
- การดูแลสวนยางพาราในหน้าแล้ง | รักบ้านเกิด (rakbankerd.com)
- สำนักส่งเสริมและจัดการสินค้าเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร
สอบถามราคาสถานที่จัดจำหน่าย และ ติดตามราคาพืชผลก่อนใครทาง LINE คลิกเลย! https://lin.ee/rNYeQyq
#ปุ๋ยตรามงกุฎ #ปุ๋ยขยันเต็มแรง #ปุ๋ยขยันทำงานทุกเม็ด #นิยมทั่วไทย #กรีดยางพารา #ราคาน้ำยางพารา #น้ำยางพารา #สูตรปุ๋ยใส่ยางพาราเปิด #กรีดแล้ว #ปุ๋ยยาง #ปุ๋ยยางพารา #ปุ๋ยใส่ยางพารา #ปุ๋ยใส่ยาง #วิธีกรีดยางพารา #ยางแห้งตาย #ยางผลัดใบ #ไฟไหม้สวนยาง #วิธีดูแลยางพาราหน้าแล้ง