“เพลี้ยไฟ” มหันตภัยร้ายในนาข้าว ระยะต้นกล้า

“เพลี้ยไฟ” แมลงศัตรูพืชตัวร้าย ที่สร้างความเสียหายในนาข้าวได้ไม่เบา โดยเฉพาะข้าวระยะต้นกล้า ที่ถือเป็นอาหารอันโอชาของพวกมันเลยล่ะครับ
วันนี้น้องปุ๋ยขยันจะพามาทำความรู้จัก “เพลี้ยไฟ” มหันตภัยร้ายในนาข้าว เพื่อให้พี่ ๆ รู้ก่อนแก้ไขทัน ลดและป้องกันความเสียหายของผลผลิตกันครับ ถ้าพร้อมแล้วเรามาดูกันเลย!

#เพลี้ยไฟ (Stenchaetothrips biformis)
- เพลี้ยไฟ (Bagnall) เป็นแมลงจำพวกปากดูด ขนาดเล็กลำตัวยาวประมาณ 1-2 มิลลิเมตร มีทั้งชนิดมีปีกและไม่มีปีก ตัวเต็มวัยมีสีดำ ตัวอ่อนสีเหลืองอ่อน ตัวเต็มวัยวางไข่ในเนื้อเยื่อของใบข้าว ตัวอ่อน มี 2 ระยะ ระยะเวลาตั้งแต่ตัวอ่อนถึงตัวเต็มวัยนานประมาณ 15 วัน

#ลักษณะการทำลายและการระบาด
- เพลี้ยไฟทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะทำลายข้าวโดยการดูดกินน้ำเลี้ยง จากใบข้าวที่ยังอ่อนโดยอาศัยอยู่ตามซอกใบ พบการระบาดในระยะต้นกล้า เมื่อใบข้าวโตขึ้นใบที่ถูกทำลายปลายใบจะเหี่ยวขอบใบจะม้วนเข้าหากลางใบและอาศัยอยู่ในใบที่ม้วนนั้น พบทำลายข้าวในระยะกล้าหรือหลังปักดำ 2-3 สัปดาห์ โดยเฉพาะในอากาศร้อนแห้งแล้งหรือฝนทิ้งช่วงนานติดต่อกันหรือสภาพนาข้าวที่ ขาดน้ำ ถ้าระบาดมาก ๆ ทำให้ต้นข้าวแห้งตายได้ทั้งแปลง

#พืชอาหารที่เพลี้ยไฟเข้าทำลาย
- ข้าว ข้าวสาลี ข้าวโอ๊ต ข้าวบาร์เลย์ ข้าวฟ่าง ป่านลินิน หญ้าข้าวนก หญ้าไซ และหญ้าต่าง ๆ

#การป้องกันกำจัด
- ดูแลแปลงข้าวในระยะกล้าหรือหลังหว่าน 7 วัน อย่าให้ขาดน้ำ
- ไขน้ำหรือปล่อยน้ำท่วมยอดข้าวทิ้งไว้ 1-2 วัน เมื่อตรวจพบเพลี้ยไฟตัวเต็มวัย 1-3 ตัวต่อต้นในข้าวอายุ 6-7 วันหลังหว่าน ใช้ปุ๋ยยูเรียหว่านเมื่อข้าวอายุ 10 วัน เพื่อเร่งการเจริญเติบโตของต้นข้าว
- หากพบใบข้าวม้วนมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ ในระยะต้นข้าวอายุ 10-15 วันหลังหว่าน ให้พ่นสารฆ่าแมลงด้วยมาลาไทออนอัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือคาร์บาริลในอัตรา 20 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร
ขอบคุณข้อมูลจาก : กองวิจัยและพัฒนาข้าว กรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ติดตามราคาพืชผลก่อนใครทาง LINE คลิกเลย! https://lin.ee/rNYeQyq
#ปุ๋ยตรามงกุฎ #ปุ๋ยขยันเต็มแรง #ปุ๋ยขยันทำงานทุกเม็ด #นิยมทั่วไทย
#พันธุ์ข้าว #พันธุ์ข้าวนาปรัง #ข้าวหอมมะลิ105 #ข้าวกข43 #วิธีการใส่ปุ๋ย #ข้าวให้ได้ผลผลิตสูง #วิธีการใส่ปุ๋ยข้าว3ครั้ง #การใส่ปุ๋ยข้าว #ปุ๋ยใส่ข้าว #ปุ๋ยข้าว #ข้าวตั้งท้องใส่ปุ๋ยสูตรไหน #เพลี้ยไฟ