ปุ๋ยขยันแชร์เทคนิค พิชิตโรคเชื้อรา & ศัตรูพืชในนาข้าวช่วงฤดูหนาว

ปุ๋ยขยันแชร์เทคนิค พิชิตโรคเชื้อรา & ศัตรูพืชในนาข้าวช่วงฤดูหนาว


อากาศหนาวเย็นมาเยือนทีไร เชื่อว่าพี่น้องชาวนาหลายคนต่างวิตกเรื่องโรคที่จะเกิดกับต้นข้าวของพี่ ๆ ใช่ไหมล่ะครับ โดยเฉพาะโรคที่เกิดจากเชื้อรา เพราะอากาศยิ่งเย็นลมยิ่งแรง ยิ่งพัดพาโรคให้แพร่กระจายได้ง่ายเป็นพิเศษ


เพราะฉะนั้น!! เรามาเตรียมพร้อมหาวิธีรับมือกับ “โรคเชื้อรา และศัตรูพืชในนาข้าวช่วงฤดูหนาว” กันดีกว่า… เพื่อให้ผลผลิตของพี่ ๆ ไม่เสียหาย ขายได้กำไรสูง ถ้าพร้อมแล้วเรามาดูกันเลยครับ!!


 โรคที่พบในนาข้าวช่วงฤดูหนาว

  •  โรคใบจุดสีน้ำตาล: เกิดจากเชื้อรา Bipolaris oryzae (Helminthosporium oryzae Breda de Haan)

ลักษณะอาการ : พบแผลที่ใบข้าว พบมากในระยะแตกกอมีลักษณะเป็นจุดสีน้ำตาล รูปกลม หรือรูปไข่ ขอบนอกสุดของแผลมีสีเหลือง มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.5-1 มิลลิเมตร บางครั้งพบแผลไม่เป็นวงกลมหรือรูปไข่ แต่จะเป็นรอยเปื้อนคล้ายสนิมกระจัดกระจายทั่วไปบนใบข้าว แผลยังสามารถเกิดบนเมล็ดข้าวเปลือก (โรคเมล็ดด่าง) บางแผลมีขนาดเล็ก บางแผลอาจใหญ่คลุมเมล็ดข้าวเปลือก ทำให้เมล็ดข้าวเปลือกสกปรก เสื่อมคุณภาพ เมื่อนำไปสีข้าวสารจะหักง่าย โดยเชื้อราชนิดนี้เข้าทำลายข้าวได้ดีที่อุณหภูมิ 25-30 องศาเซลเซียส โดยเฉพาะเมื่อข้าวเกิดความเครียดจากการขาดน้ำ

 

  •  โรคไหม้ข้าว : เกิดจากเชื้อรา Pyricularia oryzae Cav.

#ระยะกล้า พบว่ามีอาการ ใบเป็นจุดสีน้ำตาลคล้ายรูปตาหรือรูปกระสวยทอผ้า หัวท้ายแหลม ตรงกลางแผลมีจุดสีเทา เมื่อแผล ขยายลุกลามติดต่อกันอยู่ทั่วใบ ในกรณีที่โรคระบาดรุนแรง กล้าข้าวจะแห้งฟุบตายทั้งกอ อาการคล้ายถูกไฟ ไหม้

#ระยะแตกกอ อาการของโรคพบได้ที่กาบใบ ข้อต่อใบและข้อต่อของลำต้น ขนาดแผลจะใหญ่กว่าที่พบในระยะกล้า แผลจะขยายลุกลามติดต่อกัน ที่บริเวณข้อต่อใบจะมีลักษณะแผลสีน้ำตาลดำและใบมักจะหลุดจากกาบใบ

#ระยะออกรวง (โรคไหม้คอรวง หรือ โรคเน่าคอรวง) ถ้าข้าวเพิ่งจะเริ่มให้รวง เมื่อถูกเชื้อราเข้าทำลาย เมล็ดจะลีบหมด แต่ถ้าเป็นโรคตอนรวงข้าวแก่ใกล้เก็บเกี่ยว จะปรากฏรอยแผลช้ำสีน้ำตาลที่บริเวณคอรวง ทำให้เปราะหักง่าย รวงข้าวร่วงหล่นเสียหาย

 

 เทคนิคพิชิตโรคเชื้อรา & ศัตรูพืชในนาข้าวช่วงฤดูหนาว

  •  ปรับปรุงดินโดยการไถกลบฟาง หรือเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ดินโดยการปลูกพืชปุ๋ยสด หรือปลูกพืชหมุนเวียนเพื่อช่วยลดความรุนแรงของโรค 
  •  การใช้พันธุ์ข้าวที่ทนต่อสภาพอากาศหนาว เช่น กข39
  •  หว่านเมล็ดพันธุ์ในอัตราที่เหมาะสม 15-20 กิโลกรัมต่อไร่ เพื่อให้แปลงข้าวมีอากาศถ่ายเทได้ดี 
  •  คลุกเมล็ดพันธุ์ก่อนปลูกด้วยสารป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น แมนโคเซ็บ หรือ คาร์เบนดาซิม + แมนโคเซ็บ อัตรา 3 กรัมต่อเมล็ด 1 กิโลกรัม
  •  ใส่ปุ๋ยไนโตรเจนในอัตราที่เหมาะสมเพื่อลดความรุนแรงหากมีการระบาดของโรค 
  •  ใส่ปุ๋ยที่มีโพแทสเซียมคลอไรด์ (0-0-60) อัตรา 5-10 กิโลกรัมต่อไร่ ช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้ข้าวเป็นโรคน้อยลง 
  •  กำจัดวัชพืชในนาทำแปลงให้สะอาดอยู่เสมอ
  •  ถ้าพบอาการของโรคเชื้อรารุนแรงมากกว่า 10 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ใบในระยะข้าวแตกกอ หรือในระยะที่ต้นข้าวตั้งท้องใกล้ออกรวง เมื่อพบอาการที่เกิดจากเชื้อรา เช่น ใบจุดสีน้ำตาล ควรพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น อีดิเฟนฟอส คาร์เบนดาซิม แมนโคเซ็บ หรือ คาร์เบนดาซิม + แมนโคเซ็บ ตามอัตราแนะนำ


 ประโยชน์ที่ได้รับตามคำแนะนำ

  •  เกษตรกรปลูกข้าวได้ผลผลิตต่อไร่สูง
  •  ลดความรุนแรงของการระบาดของโรคและศัตรูของข้าว 
  •  ช่วยลดต้นทุนในการปลูกข้าว 
  •  สามารถจัดการกับปัญหาและแก้ไขปัญหาได้ทันท่วงที


ขอบคุณข้อมูลจาก : องค์ความรู้เรื่องข้าว กรมการข้าว, กลุ่มพยากรณ์และเตือนการระบาดศัตรูพืช กองส่งเสริมการอารักษ์ขาพืชและจัดการดินปุ๋ย กรมส่งเสริมการเกษตร  


ติดตามราคาพืชผลก่อนใครทาง LINE คลิกเลย! https://lin.ee/rNYeQyq


#ปุ๋ยตรามงกุฎ #ปุ๋ยขยันเต็มแรง #ปุ๋ยขยันทำงานทุกเม็ด #นิยมทั่วไทย

#พันธุ์ข้าว #พันธุ์ข้าวนาปรัง #ข้าวหอมมะลิ105 #ข้าวกข43 #วิธีการใส่ปุ๋ย #ข้าวให้ได้ผลผลิตสูง #วิธีการใส่ปุ๋ยข้าว3ครั้ง #การใส่ปุ๋ยข้าว #ปุ๋ยใส่ข้าว #ปุ๋ยข้าว #ข้าวตั้งท้องใส่ปุ๋ยสูตรไหน #โรคในนาข้าวช่วงฤดูหนาว #โรคไหม้ข้าว #โรคใบจุดสีน้ำตาล