สวัสดีครับพี่น้องเกษตรกรทุกท่าน เชื่อว่าในขณะนี้ปัจจัยด้านราคาปุ๋ยกำลังสร้างความกังวลให้กับพี่น้องเกษตรกรอยู่ไม่น้อย ดังนั้นน้องปุ๋ยขยันขอแชร์...หลักการเลือกซื้อ เลือกใช้ปุ๋ยอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดมาฝากครับ พร้อมแล้วตามมาดูกันเลย!!
หลักการใช้ปุ๋ย
ปุ๋ยเคมีจะมีสัดส่วนระหว่าง ไนโตรเจน (N) : ฟอสฟอรัส (P) : โพแทสเซียม (K) แตกต่างกัน การเลือกใช้จึงต้องพิจารณาถึงชนิดพืช ชนิดดินที่เพาะปลูก ปริมาณธาตุอาหารในดิน อายุพืช ระยะการเจริญเติบโตของพืช เป็นต้น การใช้ปุ๋ยเคมีให้มีประสิทธิภาพขึ้นกับปัจจัยที่เกี่ยวข้องหลายประการ พี่น้องเกษตรกรต้องพิจารณาหลักเกณฑ์อย่างน้อย 4 ด้าน คือ
1.การเลือกใช้ชนิดปุ๋ยให้ถูกต้อง
สูตรปุ๋ย หรือ "เกรดปุ๋ย" หมายถึง ตัวเลขที่บอกปริมาณธาตุอาหารที่มีอยู่ในปุ๋ย โดยบอกเป็นค่าของเปอร์เซ็นต์ โดยน้ำหนักของปริมาณไนโตรเจนทั้งหมด (N) ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ (P2O5) และปริมาณโพแทสเซียมที่ละลายน้ำได้ (K2O) ซึ่งเห็นได้ชัดเจนที่หน้ากระสอบ ตัวอย่างเช่นปุ๋ยสูตร 18-8-8 ตัวเลขแรกจะบอกปริมาณไนโตรเจน(N) ว่ามีอยู่ 18 กิโลกรัม เลขที่สองบอกปริมาณฟอสฟอรัส(P) ที่เป็นประโยชน์มีอยู่ 8 กิโลกรัม เลขตัวที่สามบอกปริมาณโพแทสเซียม(K) ที่ละลายน้ำได้มีอยู่ 8 กิโลกรัม หากนำตัวเลขมารวมกันจำได้ปริมาณธาตุอาหารทั้งหมด 35 กิโลกรัมในปุ๋ยหนัก 100 กิโลกรัม
2. การใส่ในระยะที่เหมาะสม
พืชที่ปลูกในดินที่ไม่อุดมสมบูรณ์ด้วยธาตุอาหาร มักจะแคระแกร็น และให้ผลผลิตต่ำ การใส่ปุ๋ยจะช่วยยกระดับธาตุอาหารที่ขาดแคลน ให้มีปริมาณเพียงพอกับความต้องการของพืช ปุ๋ยที่ใส่ลงไปในดินเดียวกันกับพืชชนิดเดียวกัน อาจจะให้ผลแตกต่างกันอย่างมาก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจังหวะเวลาของการให้ปุ๋ยแก่พืชนั้นๆ ว่าตรงกับเวลาที่พืชมีความต้องการธาตุอาหารนั้นมากที่สุดหรือไม่ ช่วงจังหวะความต้องการธาตุอาหารมากที่สุดของพืชแต่ละชนิดจะแตกต่างกันออกไป พืชที่มีอายุสั้น เช่น พืชไร่และข้าว จะมีจังหวะการดึงดูดธาตุอาหารที่แตกต่างกันอย่างเด่นชัดอย่างน้อย 3 ช่วงด้วยกัน คือ
ดังนั้นการให้ปุ๋ยแก่พืช จึงต้องแบ่งใส่ จังหวะการใส่ควรให้พอเหมาะกับระยะที่พืชต้องการ จะทำให้ประสิทธิภาพของปุ๋ยที่ใส่สูง ความเหมาะสมของจังหวะเวลาการให้ปุ๋ยกับพืชได้มีการศึกษากันอย่างกว้างขวาง พืชแต่ละชนิดจะมีช่วงที่ควรจะแบ่งใส่ปุ๋ย เพื่อให้มีผลดีแก่พืชมากที่สุดแตกต่างกันออกไป
3. การใช้ปุ๋ยในปริมาณที่เหมาะสม
ปริมาณปุ๋ยที่พอเหมาะ หมายถึง จำนวนหรืออัตราปุ๋ยที่ใช้ต่อไร่ หรือต่อต้นที่พืชจะได้รับ ความพอเหมาะนี้มีอยู่ 2 ลักษณะคือ พอเหมาะในแง่ของปริมาณที่พืชควรจะได้รับ เพื่อให้ได้ผลิตผลสูงสุด ถ้าน้อยกว่านั้นก็จะทำให้พืชไม่เจริญเติบโตและให้ผลิตผลสูงเท่าที่ควร หรือถ้าให้มากเกินกว่านั้นก็อาจเป็นพิษแก่พืชได้ และทำให้เสียเงินโดยเปล่าประโยชน์ อีกประการหนึ่งก็คือพอเหมาะในแง่ของหลักเศรษฐกิจ คือปริมาณของปุ๋ยที่ใช้จะต้องพิจารณาเกี่ยวกับราคาของปุ๋ยและราคาของผลผลิตที่จะขายได้เสียก่อน การใช้ปุ๋ยที่พอเหมาะในแง่นี้เป็นการใส่ปุ๋ยจำนวนหนึ่ง (ต่อไร่หรือต่อต้น) ซึ่งจะมีผลทำให้ผลผลิตสูงขึ้นที่ระดับหนึ่ง (ไม่จำเป็นต้องมีผลผลิตสูงสุด) อันจะทำให้ได้กำไรต่อเงินลงทุนในการซื้อปุ๋ยมาใช้มากที่สุด
การพิจารณาความพอเหมาะพอดีของจำนวนปุ๋ย หรืออัตราปุ๋ยที่จะใช้ จะต้องอาศัยหลักเกณฑ์ และวิธีการต่างๆ หลายประการมาประกอบการพิจารณา อาทิเช่น ชนิดของพืช ระดับความชื้น/ความอุดมสมบูรณ์เดิมของดิน วิธีการปลูก การดูแล ตลอดจนราคาของปุ๋ยและพืชที่ปลูกประกอบด้วย
4. ใส่ปุ๋ยให้พืชตรงจุดที่พืชสามารถดึงดูดไปใช้ประโยชน์ได้ง่ายและเร็วที่สุด
วิธีการใส่ปุ๋ย เพื่อให้พืชดึงดูดไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น ก็มีความสำคัญเป็นอย่างมาก ทั้งนี้เนื่องจากในทันทีทันใดที่ปุ๋ยลงไปอยู่ในดิน ปฏิกิริยาการเปลี่ยนแปลงและการเคลื่อนย้ายของปุ๋ยจะเกิดขึ้นทันที
ซึ่งรวมเป็นหลักการง่าย ๆ คือ ถูกสูตร ถูกเวลา ถูกอัตรา ถูกวิธี นั้นเอง
ปรับเปลี่ยนแนวคิดเกี่ยวกับการใช้ปุ๋ย
1. ทำนาข้าวต้องเน้นใส่ปุ๋ยยูเรียเท่านั้นการใส่ปุ๋ยยูเรียมากๆ เพื่อให้ข้าวมีใบเขียวสดและอวบน้ำ ในความเป็นจริงแล้ว การที่ข้าวอวบน้ำนั้น จะทำให้ลำต้นไม่แข็งแรงและใบมีขนาดใหญ่ น้ำหนักใบเยอะ ในเวลากลางคืนเมื่อใบโดนน้ำค้างและโดนลมพัด อาจส่งผลให้ลำต้นอวบๆ รับน้ำหนักไม่ไหว ทำให้ข้าวในนาล้ม อีกทั้งยังส่งเสริมการเข้าทำลายของแมลงศัตรูข้าวได้ ทำให้ต้องพ่นยากำจัดแมลงศัตรูพืชบ่อยครั้งขึ้น ส่งผลให้มีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น
2. ในดินเหนียวมีธาตุฟอสฟอรัส(P) และโพแทสเซียม(K) อยู่มากซึ่งจะปลดปล่อยออกมาช้า ๆ การใส่ปุ๋ยจึงสามารถเลือกสูตรปุ๋ยที่มีปริมาณธาตุฟอสฟอรัสและโพแทสเซียมในปริมาณน้อย ทั้งนี้ไม่แนะนำให้งดใส่ธาตุทั้งสองเนื่องจาก ธาตุทั้งสองที่มีอยู่ในดินบางส่วนอาจอยู่ในรูปที่ไม่เหมาะสมต่อการนำไปใช้ของข้าว จึงยังจำเป็นต้องใส่ปุ๋ยสูตรที่มีธาตุฟอสฟอรัสและโพแทสเซียมที่ละลายไวแก่ข้าวอยู่
3. ใส่ปุ๋ยยูเรียรอบแรกและใส่ปุ๋ยสูตรรอบหลัง เรามักพบเห็นหรือเข้าใจว่าต้องใส่ปุ๋ยยูเรียในรอบแรกเพื่อให้ต้นโตไว เร่งการแตกกอและใบเขียว ความเป็นจริงแล้วในรอบแรกเราควรใส่ปุ๋ยที่มีธาตุ NPK ครบถ้วน เพราะปุ๋ย NPK มีส่วนในการเร่งการเติบโต ช่วยให้ระบบรากพัฒนาได้ดีและแข็งแรง อีกทั้งการใส่ธาตุโพแทสเซียม(K) ในรอบแรกจะทำให้ข้าวได้ใช้ประโยชน์จากโพแทสเซียม(K) ได้อย่างแท้จริงเนื่องจากธาตุนี้เคลื่อนย้ายช้า การใส่ปุ๋ยโพแทสเซียม(K) ในช่วงการให้ปุ๋ยครั้งที่ 2 ต้นข้าวอาจใช้ประโยชน์จากปุ๋ยได้น้อย คงเหลือตกค้างอยู่ในซังและฟางเป็นส่วนใหญ่
ทั้งหมดนี้คือเทคนิคการเลือกใช้ปุ๋ยเคมีให้ได้ประโยชน์สูงที่สุด คุ้มค่ากับเงินที่จ่ายไปมากที่สุด รู้อย่างนี้แล้วก็อย่าลืมลองนำไปปรับใช้กันดูนะครับ รับรองว่าสิ่งที่เราลงทุนลงแรงไปไม่มีสูญเปล่าอย่างแน่นอนครับ
ขอบคุณข้อมูลจาก มูลนิธิโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ
ขอบคุณข้อมูลจาก หนังสือการจัดการธาตุอาหารหลักในนาข้าว กรมวิชาการเกษตร
ติดตามราคาพืชผลก่อนใครทาง LINE คลิกเลย! https://lin.ee/rNYeQyq
#ปุ๋ยตรามงกุฎ #ปุ๋ยขยันเต็มแรง #ปุ๋ยขยันทำงานทุกเม็ด #นิยมทั่วไทย
#ปุ๋ยเคมี #ปุ๋ยแพง #ปุ๋ยราคาแพง #วิธีใส่ปุ๋ยให้ลดต้นทุน