“ข้าวล้ม” ปัญหากวนใจ ที่ใคร ๆ ไม่อยากเจอ
วันนี้น้องปุ๋ยขยันจึงขอแชร์… สาเหตุของปัญหาข้าวล้มและวิธีแก้ไขเบื้องต้น ให้พี่น้องเกษตรกรชาวนาได้รับมือกับปัญหาข้าวล้มกันนะครับ
#ข้าวล้มเกิดจากอะไร?
1. พันธุ์ข้าว ข้าวสายพันธุ์ต้นสูงจะมีโอกาสล้มได้ง่ายกว่าสายพันธุ์ต้นเตี้ย
2. ฤดูกาล ข้าวนาปีที่ปลูกในช่วงฤดูฝนจะมีต้นสูงกว่าข้าวนาปรังที่ปลูกในช่วงฤดูแล้ง เนื่องจากได้รับสภาพอากาศที่เอื้อต่อการเจริญเติบโตมากกว่า บวกกับมีลมฝน พายุ ทำข้าวนาปีมักเจอกับปัญหาข้าวล้มมากกว่าข้าวนาปรังครับ
3. วิธีการปลูก ข้าวที่ปลูกด้วยวิธีการดำหรือข้าวนาดำ จะมีรากที่ลึกลงในดิน และสามารถกำหนดระยะความถี่ของกอข้าวได้ ทำให้ข้าวนาดำมีปัญหาเรื่องข้าวล้มน้อยกว่าข้าวนาหว่านที่มีระบบรากเจริญอยู่ที่ผิวดิน
4. ใช้ปุ๋ยผิดวิธี การใส่ปุ๋ยที่มีธาตุไนโตรเจน(N) มากเกินไป ส่งผลให้ต้นข้าวยืดสูง อวบน้ำ เปราะหักง่าย ต้นข้าวจึงล้มง่ายและอาจมีโรคต่าง ๆ เข้าทำลายได้ง่ายอีกด้วย
#วิธีแก้ปัญหาข้าวล้ม
1. ในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากพายุ ลมฝน เป็นประจำ ควรเพาะปลูกข้าวที่มีสายพันธุ์ต้นเตี้ย
2. ทำให้ดินแห้ง ด้วยการปล่อยน้ำออกจากนาให้หมดในระยะ 2 เดือนก่อนการเก็บเกี่ยว วิธีนี้ทำให้ดินจับตัวกับกอข้าวจนแน่น เมื่อเจอลมฝนในช่วงเวลาที่รอเก็บเกี่ยวก็ยังแข็งแรงไม่ล้มง่าย
3. ใส่ปุ๋ยในปริมาณที่เหมาะสมหรือใส่ธาตุอาหารเสริมต่าง ๆ เพื่อช่วยส่งเสริมความแข็งแรงของต้นข้าว เช่น
ทั้งหมดนี้คือวิธีการจัดการและแก้ปัญหาข้าวล้มในเบื้องต้นครับ... อย่างไรน้องปุ๋ยขยันอยากให้พี่น้องเกษตรกรชาวนาลองนำไปปรับใช้ดูนะครับ รับรองว่าจะสามารถลดความเสียหายต่อผลผลิตของเราได้อย่างแน่นอนครับ
ขอบคุณข้อมูลจาก : สำนักวิจัยและพัฒนาข้าว กรมการข้าว, สยามคูโบต้า และศูนย์ประสานงานร่วมด้วยช่วยกันสำนึกรักบ้านเกิด จ.เชียงราย
ติดตามราคาพืชผลก่อนใครทาง LINE คลิกเลย! https://lin.ee/rNYeQyq
#ปุ๋ยตรามงกุฎ #ปุ๋ยขยันเต็มแรง #ปุ๋ยขยันทำงานทุกเม็ด #นิยมทั่วไทย #ข้าวล้ม #พันธุ์ข้าว #พันธุ์ข้าวนาปรัง #ข้าวหอมมะลิ105 #ข้าวกข43 #วิธีการใส่ปุ๋ยข้าวให้ได้ผลผลิตสูง #วิธีการใส่ปุ๋ยข้าว3ครั้ง #การใส่ปุ๋ยข้าว #ปุ๋ยใส่ข้าว #ปุ๋ยข้าว #ข้าวตั้งท้องใส่ปุ๋ยสูตรไหน