ฝนตก ความชื้นสูง ต้องระวัง!!! โรครากเน่าโคนเน่า-ผลเน่า ในทุเรียน

ฝนตก ความชื้นสูง ต้องระวัง!!! โรครากเน่าโคนเน่า-ผลเน่า ในทุเรียน


ฝนตกและความชื้นสูง… ต้องระวัง!!! โรครากเน่าโคนเน่า โรคผลเน่า ในทุเรียน

 

ฝนตกลงมาชาวเราก็เฮ!!! แต่… ถ้าตกลงมามาก ๆ จนพื้นดินและอากาศมีความชื้นสูงจนเกินไป แบบนี้ก็ไม่ค่อยดีนะครับ โดยเฉพาะพี่น้องชาวสวนทุเรียน เพราะต้องระวังเจ้าเชื้อราที่มีชื่อว่า Phytophthora palmivora กันเป็นพิเศษ เพราะเจ้านี่เป็นเชื้อสาเหตุของโรครากเน่าโคนเน่า และโรคผลเน่า ร้ายกาจมาก ๆ เลยใช่มั้ยครับ

 

ฉะนั้น!! น้องปุ๋ยขยันขอแชร์วิธีการดูแลและจัดการสวนทุเรียนเบื้องต้น เพื่อรับมือกับเจ้าเชื้อราตัวร้ายนี้ รับรองว่าถ้านำไปประยุกต์ใช้ก็จะสามารถลดความเสียหายได้นะครับ

 

#การป้องกันและจัดการโรครากเน่าโคนเน่า

1. ปรับพื้นที่ไม่ให้มีหลุมหรือบ่อ มีทางระบายน้ำเมื่อมีฝนตกหนักจะได้ไม่เกิดการท่วมขัง

2. ปรับสภาพดินให้มีค่าความเป็นกรดด่างของดินประมาณ 6.5

3. ระมัดระวังอย่าทำให้เกิดบาดแผลที่รากหรือลำต้นของทุเรียน เพราะอาจทำให้เชื้อราเข้าทำลายได้ง่าย

4. ตัดแต่งกิ่งที่เป็นโรคและตัดแต่งทรงพุ่มให้โปร่ง เพื่อให้เกิดการถ่ายเทอากาศและแสงแดดส่องถึง

5. ไม่นำเครื่องมือตัดแต่งที่ใช้กับต้นที่เป็นโรคไปใช้ต่อกับต้นปกติโดยไม่ได้ทำความสะอาด โดยจุ่มด้วยคลอร็อกซ์ (clorox) 10% หรือแอลกอฮอล์ 70% นานประมาณ 5-10 นาที 

6. พ่นสารหรือทาที่บาดแผลด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช เช่น เมทาแลกซิล (metalaxyl) หรือ ฟอสอีทิล-อะลูมิเนียม (fosetyl-aluminium) เมื่อพบการระบาด

7. ใช้เชื้อราปฏิปักษ์ Trichoderma เพื่อควบคุมปริมาณเชื้อในดิน

 

#การป้องกันและจัดการโรคผลเน่า

1. สำรวจแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ หากพบโรคผลเน่าให้ตัดผลที่เป็นโรคออก หรือหากพบว่ามีผลที่เป็นโรคร่วงหล่นที่พื้นให้เก็บไปทำลายนอกแปลงปลูก แล้วพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช เช่น เมทาแลกซิล (metalaxyl) หรือ ฟอสอีทิล-อะลูมิเนียม (fosetyl-aluminium) รอบทรงพุ่ม ทุก ๆ 7-10 วัน (ควรหยุดพ่นสารก่อนเก็บเกี่ยวผล อย่างน้อย 15 วัน)

2. จัดการแปลงปลูกไม่ให้เกิดโรครากเน่าโคนเน่า เพราะโรครากเน่าโคนเน่าเกิดจากเชื้อราสาเหตุ Phytophthora palmivora เช่นเดียวกับโรคผลเน่า

3. การเก็บเกี่ยวผลทุเรียน ควรหลีกเลี่ยงไม่ให้ผลทุเรียนตกลงที่พื้นดินโดยตรง ควรหาผ้าหรือกระสอบหนา ๆ ปูที่พื้น เพราะหากผลทุเรียนสัมผัสกับพื้นดินที่มีเชื้อสาเหตุอยู่ ในระยะบ่มทุเรียน เชื้อราจะเข้าทำลายสร้างความเสียหายได้

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : กรมวิชาการเกษตร

 

ติดตามราคาพืชผลก่อนใครทาง LINE คลิกเลย! https://lin.ee/rNYeQyq

 

#ปุ๋ยตรามงกุฎ #ปุ๋ยขยันเต็มแรง #ปุ๋ยขยันทำงานทุกเม็ด #นิยมทั่วไทย #ปุ๋ยทุเรียน #วิธีปลูกทุเรียน #วิธีการปลูกทุเรียน #พันธุ์ทุเรียน #การใส่ปุ๋ยทุเรียน #การใส่ปุ๋ยทุเรียนช่วงติดผล #วิธีปลูกทุเรียนหมอนทองให้โตเร็ว #สูตรปุ๋ยเร่งต้นทุเรียน #วิธีปลูกทุเรียนให้รอด #ทุเรียนนกกระจิบ #ทุเรียนมูซังคิง #ทุเรียนก้านยาว