โรคตายนึ่ง พึงระวัง เรียนรู้และป้องกันให้ทันเวลา

โรคตายนึ่ง พึงระวัง เรียนรู้และป้องกันให้ทันเวลา


“โรคตายนึ่ง” หรือ “โรคเปลือกแห้ง” อีกหนึ่งโรคสำคัญที่สร้างความเสียหายให้กับผลผลิตของพี่น้องเกษตรกรชาวสวนยางเป็นอย่างมาก วันนี้น้องปุ๋ยขยันขอบอกต่อวิธีการป้องกันและจัดการโรคตายนึ่ง พร้อมวิธีการสังเกตอาการเบื้องต้น เพื่อให้พี่น้องทุกท่านได้ #พึงระวัง #เรียนรู้ #ป้องกันให้ทันเวลา

 

สาเหตุการเกิดโรค

  • สวนยางพาราขาดการบำรุงรักษาอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง
  • ใช้ระบบกรีดไม่เหมาะสมกับสายพันธุ์ และกรีดยางติดต่อกันมากเกินไป ไม่เว้นวันกรีดเพื่อพักหน้ายาง
  • ในรายที่มีการใช้สารเคมีเร่งน้ำยาง จะพบการเกิดโรคที่สูงกว่ารายที่ไม่ใช้สารเร่ง
  • ใส่ปุ๋ยไม่เหมาะสมกับสภาพของดินในพื้นที่ปลูก และใส่ในอัตรา/เวลา ไม่ถูกต้อง
  • เกิดโรคได้มากในพื้นที่แห้งแล้ง และดินมีความเป็นกรด
  • ในสายพันธุ์ที่ให้น้ำยางในปริมาณที่สูง มักพบการเกิดโรคสูง

 

ลักษณะอาการของโรค

  • อาการก่อนเกิดโรค
    • น้ำยางจะแห้งและจับตัวกันเป็นจุดบนรอยกรีด
    • น้ำยางที่กรีดจะมีปริมาณมากกว่าปกติ และการหยดของน้ำยางจะยาวนานกว่าปกติ
    • น้ำยางที่ได้จากการกรีดจะมีลักษณะใสกว่าปกติ เนื่องจากมีปริมาณเนื้อยางแห้งน้อย
    • เปลือกของต้นยางเหนือรอยกรีดจะมีสีซีดลง เป็นสีน้ำตาลอ่อน ๆ

 

  • อาการขณะเป็นโรค
    • เปลือกยางจะแห้ง แตกหรือมีอาการพุพอง 
    • ไม่มีน้ำยาง หากไม่มีการจัดการจะลุกลามทำให้หน้ายางเสียหาย

 

แนวทางป้องกันและจัดการโรค

  • บำรุงต้นยางพาราอย่างสม่ำเสมอ ให้มีสมบูรณ์แข็งแรงตั้งแต่แรกปลูก
  • ใส่ปุ๋ยตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตรทั้งปริมาณและช่วงเวลา โดยแนะนำให้ใส่ปุ๋ยในขณะที่ดินมีความชื้นเหมาะสมคือช่วงต้นฤดูฝน และปลายฤดูฝน 
  • เลือกใช้ระบบกรีดยางให้เหมาะสม แนะนำระบบกรีดยางแบบ “กรีดครึ่งต้น โดยกรีด 1 วันเว้น 2 วัน หรือกรีดแบบวันเว้นวัน” และจัดให้มีการพักหน้ายางเป็นระยะ
  • เปิดกรีดเมื่อยางมีอายุที่เหมาะสม หรือเส้นรอบวง(ต้น) ไม่น้อยกว่า 50 ซม.ที่ความสูง 150 ซม.
  • หยุดกรีดยางในขณะที่ต้นยางผลัดใบ
  • หยุดใช้สารเคมีเร่งน้ำยางในกรณีที่พบการเกิดโรคระยะแรก

 

ยางที่จะเปิดกรีดใหม่

  • สำหรับยางที่เริ่มเปิดกรีดใหม่ ให้ทำร่องเพื่อแยกหน้ากรีดออกจากกัน โดยใช้สิ่วเซาะให้เป็นร่องลึกจนถึงเนื้อไม้ โดยทำร่องเดียวตรงตลอดจากจุดที่จะเปิดกรีดด้านบนจนถึงส่วนโคนของต้นยาง
  • ทำร่องบริเวณโคนต้นยางให้ร่องนี้ขวางกับลำต้น เพื่อป้องกันไม่ให้โรคลุกลามลงสู่ราก

 

ยางที่จะเปิดกรีดแล้ว

  • หากต้นยางแสดงอาการตายนึ่งบางส่วน ให้ควบคุมโดยทำร่องแยกส่วนที่เป็นโรคออกจากกัน โดยใช้สิ่วเซาะร่องให้ลึกถึงเนื้อไม้ห่างจากบริเวณที่เป็นโรคประมาณ 2 ซม. ก็สามารถเปิดกรีดได้ตามปกติ แต่ต้องเปิดกรีดต่ำกว่าบริเวณที่เป็นโรค

 

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร

 

ติดตามราคาพืชผลก่อนใครทาง LINE คลิกเลย! https://lin.ee/rNYeQyq

 

#ปุ๋ยตรามงกุฎ #ปุ๋ยขยันทำงานทุกเม็ด #นิยมทั่วไทย #โรคตายนึ่ง #โรคเปลือกแห้ง